8 มีนาคม วันสตรีสากลโลก (International Women’s day )
8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women’s day )
ย้อนกลับไปอดีต วันสตรีสากลโลกนิยม เดิมเรียกว่า (วันสตรีแรงงานสากล) เรามาย้อนประวัติความเป็นมาว่ามีส่วนสำคัญยังไงกับชาวยุโรป ชาวตะวันออกบางภูมิภาค ส่วนมากจะเป็นวันเฉลิมฉลอง สตรีชาวยุโรป ซึ่งให้ความเคารพแก่สตรี วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ใด้กลายเป็นวัฒนธรรมส่วนสำคัญของชาวยุโรป สตรีสากล ( International woman’s day )ซึ่งก็คล้ายๆกันกับวัน แม่ หรือ วันวาเลนไทน์ ซึ่งละลึกถึงความเข้มแข็ง ผู้ที่เป็นเพศแม่ ต่อสู้เพื่อสิทธิเท่าเทียมของตัวเองในการทำงานเพื่อค่าแรงให้เทียบเท่ากับเพศชาย และยังปกป้องความยุติธรรมในการใช้แรงงานเด็กอีกด้วย
วันสตรีสากล เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 8 มี.ค 2400 (1857) เกิดขึ้นจากหญิงสาวกรรมกรใช้แรงงาน ในโรงงานทอผ้า ที่รัฐนิวยอก สหรัฐอเมริกา พากันออกมาประท้วง สิทธิเสรีภาพสตรีของตนเองในการทำงาน เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าแรงเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่เป็นผล เพราะมีคนลอบวางเพลิงโรงงานทอผ้าที่พวกเธอชุมนุมประท้วงนายจ้าง ทำให้กลุ่มแรงงานหญิงเสียชีวิตถึง 119 คน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นวันที่ 8 มี.ค พ.ศ 2400 ต่อมา กลุ่มแรงงานสตรีชาวยุโรป ตะวันออก ยังคงไม่เลิกความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ของตนเอง
วันที่ 8 มี.ค พ.ศ 2450 (1907) กรรมกรหญิงที่ ชิคคาโก สหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวกับนายจ้าง ที่ กดขี่ ข่มเหง ทารุณ และใช้แรงงานพวกเธอเยี่ยงทาส โดยทำงานวันล่ะ 16-17 ชม.ต่อวัน โดยที่ไม่มีวันหยุด -ไม่มีประกันคุ้มครอง จึงทำให้ผู้หญิงหลายคน เจ็บ ป่วย ไม่สบาย ล้มตายไปในเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับใด้ค่าจ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และถ้าสตรีที่ตั้งครรภ์ ก็จะโดนไล่ออกทันที ความอัดอั้นเกินทนนี้ ทำให้คราร่า เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ระดมเหล่าสตรีกรรมกรที่ใช้แรงงาน นัดหมายกันในวันที่ 8 มี.ค พ.ศ 2450( 1907) เรียกร้องให้นายจ้าง ลดเวลาการทำงาน เหลือ 8 ชม. และให้นายจ้าง ปรับปรุงสวัสดิการณ์ ทุกอย่าง และยังเรียกร้องให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งอีกด้วย ถึงแม้ว่าการเรียกร้องนี้ยังไม่เป็นผล เพราะผู้หญิงหลายๆคนที่ไปประชุมถูกจับกุมหลายคน แต่หลายๆประทศในยุคนั้น ก็สนับสนุนการกระทำของ คราร่า เซทคิน และเป็นการกระทำให้ผู้หญิงตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากขึ้น
ต่อมาอีก 1 ปี 8 มี.ค พ.ศ 2451(1908) ผู้หญิงกว่า 15000 คน รวมตัวกันอีกครั้ง ที่นิวยอก สหรัฐอเมริกา เรียกร้องให้หยุดการใช้แรงงานเด็ก โดยมีค่าขัวญ ในการรณรงค์ นี้ว่า -ขนมปังกับดอกกุหลาบ – หมายถึงการใด้รับอาหารที่เพียงพอ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จนมาถึง 8 มี.ค พ.ศ 2453 (1910) ความพยายามของพวกเธอ ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีกลุ่มสตรี ทั้งหมด 17 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม สตรีสังคมนิยม ที่ประเทศเดนมาร์ค โดยยอมให้ลดเวลาทำงาน เหลือ 8 ช.ม และอีก 8 ช.ม เป็นเวลาพักผ่อน และพร้อมทั้งยังใด้ค่าแรงเทียบเท่ากับผู้ชาย และมีการคุ้มครองแรงงานสตรี และแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี จึงเป็นวันสตรีสากล.