ข่าวต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ สหรัฐ-อิหร่าน สั่นคลอน หลังสังหารนายพล

ความสัมพันธ์ สหรัฐ-อิหร่าน สั่นคลอน หลังสังหารนายพล

จากกรณี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ได้สั่งสังหาร นายพล โซเลมานี ของอิหร่าน ด้วยโดรนจนเสียชีวิต จากนั้นอิหร่านได้ชักธงแดงขึ้นเพื่อแสดงการตอบโต้ อันทำให้ความสัมพันธระหว่างสองประเทศ สั่นคลอน นอกจากนี้มีการตั้งค่าหัวนายโดนัลด์ ทรัมป์ กว่า 80 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ และในงานศพของนายพล โซเลมานี มีชาวอิหร่านเข้าร่วมเนืองแน่นเกือบล้านคน ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่5 ม.ค. 63 รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่สั่นคลอนของประเทศ สหรัฐอเมริกาและอิหร่านในประวัติศาสตร์ ว่า ประธานาธิบดีบางคนใช้อำนาจทางการทหารนอกเหนือขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น Abraham Lincoln สั่งระงับไม่ให้ผู้ถูกคุมขังต้องถูกนำตัวมายังศาล (habeas corpus) เป็นการชั่วคราวในระหว่างสงครามกลางเมือง หรือ Franklin D. Roosevelt กักขังชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และ George W. Bush ใช้เครื่องดักฟังประชาชน และทรมานผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย หลังเหตุการณ์ 9/11

Advertisements

หลังถูกโจมตีเมื่อ 9/11 นั่นเอง ที่สภาคองเกรสได้เห็นชอบขยายอำนาจประธานาธิบดี ในการใช้กำลังทหาร (an authorization for use of military force –the 2001 AUMF) เพื่อต่อต้านผู้วางแผน กระทำการ หรือ ให้ความช่วยเหลือการก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 911

สหรัฐประกาศสงครามครั้งหลังสุด คือ สงครามโลกครั้งที่สอง (หลังจากที่ถูกญี่ปุ่นโจมตี Pearl Harbor) หลังจากนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐเลือกที่จะขอให้สภาคองเกรสอนุมัติการใช้กำลังทางทหาร โดยไม่ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ

ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ แต่อำนาจในการประกาศสงคราม (the power to declare war) และอนุมัติงบประมาณในการปฏิบัติการทางทหาร เป็นของสภาคองเกรส

ถึงแม้ Obama จะมั่นใจในแสนยานุภาพทั้งทางทหาร และ เศรษฐกิจที่เหนือกว่าอิหร่านมาก แต่ตระหนักถึงความมุ่งมั่น ศักดิ์ศรี ศรัทธา และความเข้มข้นในผลประโยชน์ของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง จึงเลือกตอบโต้แบบหลบหลีก เลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรง (the spiral model)

แต่ดูเหมือนประธานาธิบดี Trump อาจประเมินพลาด เพราะอิหร่านเพิ่งนำธงแดงขึ้นเหนือยอดโดมศักดิ์สิทธิ์ของมัสยิด Jamkarān อันเป็นสัญญลักษณ์ของการแก้แค้นต่อความอยุติธรรม ด้วยเลือดตรงกันข้าม ปฎิบัติการโดรนสังหารนายพล Qassem Soleimani ในครั้งนี้ ซึ่งได้รับการอธิบายจากกระทรวงกลาโหม และประธานาธิบดี Trump ว่า เป็นความจำเป็นในการป้องปรามภัยคุกคามอันใหญ่หลวง ต่อบุคลากรของสหรัฐที่ปฎิบัติการในอิรัค เป็นการใช้ “the deterrence model” กล่าวคือ ใช้กำลังรุนแรง เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ฝ่ายตรงข้ามที่เชื่อว่ามีศักยภาพต่ำกว่าสยบยอม ไม่ให้กล้าโงหัวขึ้นมาสู้

Advertisements

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม:

https://www.facebook.com/siripan.nogsuansawasdee/posts/3728887023795923

kamon w.

จบสายภาษาแต่หนีไปทำงานด้านบริการเกือบ 2 ปี ตอนนี้กลับมาขีด ๆ เขียน ๆ อีกครั้ง พร้อมแพสชั่นในงานข่าวที่เต็มเปี่ยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button