สุขภาพและการแพทย์

เตือนภัย ใช้เล็บจิกร่องปากคนเป็นลม ไม่ได้ผล! เสี่ยงตายกว่าเดิม

เตือนภัย ช่วยคนเป็นลมด้วยการใช้เล็บจิกร่องปาก ไม่ได้ผล! เสี่ยงตายกว่าเดิม

ใช้เล็บจิกร่องปาก – จากกรณีโลกโซเชียลมีการแชร์โพสต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ระบุว่ามีคนเคยช่วยพี่เขยจากอาการวูบด้วยการใช้เล็บจิกลงไปบนร่องปากที่อยู่ระหว่างปากกับจมูก และมีอีกหลายเคสตามมาที่ใช้วิธีนี้แล้วได้ผล ส่งผลให้มีคนบางส่วนเชื่อว่านี่เป็นการปฐมพยาบาลที่ช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นลมได้ ฃ

แต่แท้จริงแล้วนี่คือวิธีที่ผิด!

Advertisements

ทางเพจ drama-addict ได้ออกมาเตือนเรื่องนี้ว่า “ถ้าคนวูบไปเพราะหัวใจหยุดเต้นหรือเต้นผิดจังหวะจนช๊อค แบบนั้นต้องพึ่ง CPR + AED ถึงจะช่วยให้รอดได้” ถ้ามัวจิกร่องปาก “ตายสถานเดียว”

https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290/10157962375938291/?type=3&theater

ด้านสำนักข่าวไทย รายงาน ข้อความของ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ว่า การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลมโดยการใช้เล็บจิกตรงบริเวณร่องปากใต้จมูกถือเป็นการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกต้อง ซ้ำอาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลง หรือทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น

“เวลาที่พบผู้ป่วยที่เป็นลม ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการคลายเสื้อผ้าที่แน่นจนเกินไปออก กันไม่ให้คนมามุงล้อมผู้ป่วย เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และอาจจะนำผ้าชุบน้ำมาเช็ดหน้า คอ แขนขา และลำตัวผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นลมที่ได้รับการปฐมพยาบาลข้างต้น จะกลับฟื้นคืนสติในเวลาไม่กี่นาที และเมื่อผู้ป่วยฟื้นคืนสติแล้ว ควรให้นั่งพัก 1-2 ชั่วโมง เพราะถ้าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นหรือกลับไปทำงานทันที จะเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมอีกได้ หลังจากนั้นควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุต่อไป”

วิธี CPR ที่ถูกต้อง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส ได้เผยแพร่ 7 ขั้นตอน CPR ไว้ดังนี้

Advertisements

1.ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและตีที่ไหล่เบาๆ

2.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายราบกับพื้นแข็งและตรวจดูในปากว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้นำออก

3.เปิดทางเดินหายใจโดยดันหน้าผากและยกคางให้ใบหน้าหงายขึ้น

4.ตรวจว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่โดยการฟัง ก้มลงให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วย ฟังเสียงลมหายใจตามองดูหน้าอกว่าขยับขึ้นลงหรือไม่

5.ถ้าผู้ป่วยหายใจดีและไม่มีการเจ็บของกระดูกคอและกระดูกสันหลัง ให้จัดท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ ให้จับแขนด้านไกลตัว ข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่งแล้วดึงตัวให้พลิกตัว

6.ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก โดยประกบปากผู้ป่วยเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยช้า ๆ สม่ำเสมอ10-12 ครั้ง ใน 1 นาที อย่าเป่าติดกันโดยไม่รอให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก (ปัจจุบัน เป่าปาก 2 ครั้ง นวดหน้าอก : 30 ครั้ง : จำนวน 5 รอบ )

ข้อควรระวัง ต้องมั่นใจว่าในปากผู้ช่วยเหลือและผู้ป่วยไม่มีแผล ไม่เป่าลมมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการอาเจียน ซึ่งอาจมีเศษอาหารติดทางเดินหายใจ

7.ตรวจชีพจร ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนลูกกระเดือกของผู้ป่วย วางแล้วเลื่อนมือลงมาด้านข้างระหว่างช่องลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อคอ

ทางทีดีที่สุด หากพบเห็นคนเป็นลม ป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรเรียกรถ 1669

 

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button