ข่าวข่าวการเมือง

เปิดประวัติเพลง “หนักแผ่นดิน” ทำไม ผบ.ทบ. ถึงไล่ให้ สุดารัตน์ ไปฟัง

เปิดประวัติเพลง “หนักแผ่นดิน” ทำไม ผบ.ทบ. ถึงไล่ให้ สุดารัตน์ ไปฟัง

“หนักแผ่นดิน” เพลงสุดแสนอมตะนิรันดร์กาลในการรับใช้แนวคิดทางการเมืองกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ตอบกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เสนอนโยบายลดการเกณฑ์ทหาร และลดงบกลาโหมลง 10 เปอร์เซนต์ ด้วยการให้ไปฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” ซึ่งนโยบายดังกล่าวย่อมส่งผลโดยตรงถึงระบบโครงสร้าง และหน่วยกำลังพลภายในกองทัพ

แล้วทำไม การวางนโยบายลดกำลังทหารถึง “หนักแผ่นดิน?” นโยบายดังกล่าวถ่วงแผ่นดิน ทำให้แผ่นดินไม่เจริญอภิวัฒน์อย่างนั้นหรือ

Advertisements

https://www.youtube.com/watch?v=ItxSyvWz6bY

จริง ๆ แล้ว เพลงหนักแผ่นดิน เกี่ยวโยงโดยตรงกับสถาบันทหาร ซึ่งใช้เป็นเพลงปลุกใจเพื่อสำเสนออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง โดยเพลงหนักแผ่นดินนี้ถูกแต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ประพันธ์คำร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2518-2523 ต่อมาใน พ.ศ. 2520 นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ “หนักแผ่นดิน” กำกับโดย สมบัติ เมทะนี แสดงนำโดยสมบัติ เมทะนี และนัยนา ชีวานันท์

หนักแผ่นดิน เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทการเมืองไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ฝ่ายขบวนการนักศึกษาได้รับชัยชนะเหนือระบอบเผด็จการ สามารถโค่นล้มจอมพลถนอมและประภาสลงจากอำนาจได้ นับเป็นการเบ่งบานทางประชาธิปไตยครั้งใหญ่และอาจเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อย่างไรก็ดี มีอีกกระแสหนึ่งที่เริ่มเติบโตขึ้นในกภูมิภาคนี้ รวมถึงกระแสโลก คือการเติบโตและรุกคืบเข้ามาของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชนชั้นนำไทยและฝ่ายอนุรักษ์นิยมหวั่นเกรงเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากบทเรียนของประเทศเพื่อนบ้านที่ล้มครืนเป็นโดมิโน่ไล่มาเวียดนาม เขมร และแนวความคิดนี้ส่วนหนึ่งในแทรกซึมเข้าไปในกลุ่มปัญญาชนมหาวิทยาลัย

เพลงหนักแผ่นดินจึงแสดงให้เห็นความพยายามตอบโต้และต่อต้านลัทธิดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลงที่ว่า

Advertisements

“คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรู
เข้าทลายพลังไทยให้สลายทางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมัน
คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการ
เกื้อหนุนอคติ เชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา”

ลัทธิคอมมิวนิสต์คือภัยจากภายนอกที่จะเข้ามาทำลายประเทศ และคนในชาติคนใดหากคิดังแนวคิดนั้น ก็คือคนขายชาติทำลายประเทศ น่าสนใจตรงที่ว่า 2518 คือปีเดียวก่อนที่ความรุนแรงทางการเมืองจะปะทุสูงสุดอีกครั้งจนนำไปสู่การสังหารหมู่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาหลายคนหนีเข้าป่า ร่วมกับพรรคคมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และไทยก็เดินหน้าเปิดศึกปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ก่อนเปลี่ยนนโยบายเป็นไม้อ่อนในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 นำไปสู่การเดินหน้าปรองดองจนปัญหายุติลง

แม้ว่ากระแสลัทธิคอมมิวนิสต์จะล้มหายจากการเมืองไทย แต่เพลง “หนักแผ่นดิน” ก็ถูกหยิบนำมารับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยน “สาร” ไปตาามแต่บริบทการเมือง ณ ขณะนั้น ๆ เช่น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใช้เพลง “หนักแผ่นดิน” เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชิณวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนถึงล่าสุด ที่ผบ.ทบ. ใช้เพลงหนักแผ่นดินสื่อสารตอบโต้กับคุณหญิงสุดารัตน์ เมื่อประกาศนโยบายว่าจะลดงบกลาโหม – เลิกเกณฑ์ทหาร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button