การเงินเศรษฐกิจ

ครม.ไฟเขียว เงินสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตน เพิ่มเป็น 1000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.68

ครม. อนุมัติเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร 1,000 บาท จากเดิม 800 บาท เริ่ม 1 มกราคม 2568 ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เช็กเลยใครได้เงินบ้าง พร้อมวิธีตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีเงินสงเคราะห์บุตร ช่วยผู้ประกันตนที่เป็นผู้ปกครอง ช่วยลดภาระการเลี้ยงดูบุตร เพิ่มเป็น 1,000 บาท เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นของขวัญต้อนรับปีใหม่

Advertisements

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการประกันสังคม ได้เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงโอนเงินสงเคราะห์บุตร ในรูปแบบเหมาจ่ายต่อเดือนบุตร 1 คน จากเดิม 800 บาท เพิ่มเป็น 1,000 บาท

ใครได้เงินสงเคราะห์บุตรบ้าง?

สำหรับผู้ประกันตนที่เป็นผู้ปกครองเลี้ยงดูบุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 1,000 บาท ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน

3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

Advertisements

4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

วิธีตรวจสอบเงินสงเคราะห์บุตร 1,000 บาท

ผู้ปกครองที่มีสิทธิรับเงิน 1,000 บาทสามารถตรวจสอบสิทธิได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นเงินเด็ก ทางรัฐ และเว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน

1. แอปพลิเคชั่น ‘เงินเด็ก’

  • ผู้ใช้งานระบบ IOS >> คลิก
  • ผู้ใช้งานระบบ Android >> คลิก

2. แอปพลิเคชั่น ‘ทางรัฐ’

  • ผู้ใช้งานระบบ IOS >> คลิก
  • ผู้ใช้งานระบบ Android >> คลิก

3. เว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน >> https://csgcheck.dcy.go.th

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

ผู้ประกันตนจะหมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรใน 4 กรณี ดังนี้

1. เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

2. บุตรเสียชีวิต

3. ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น

4. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button