ข่าว

หัวอกแม่เล่าชีวิตลูกน้อย “ฝาแฝดตาสีฟ้า” วัย 9 ขวบ โรคพันธุกรรมหายาก พบหนึ่งในล้าน

คนเป็นแม่เผย น้องกิ๊ฟ น้องแก้ม สาวน้อยฝาแฝดตาสีฟ้า หลังโซเชียลแห่แชร์รูปลูก เป็นโรคทางพันธุกรรมหายาก พบหนึ่งในล้านเท่านั้น พร้อมเล่าลูกมีปัญหาทางการได้ยิน

ก่อนหน้านี้บนโซเชียลมีการแชร์รูปของ 2 ด.ญ. ซึ่งเป็นหนูน้อยฝาแฝด ทราบต่อมาจากรายงานของสำนักข่าวไทย เด็กทั้งสองชื่อ “น้องกิ๊ฟ-น้องแก้ม” วัย 9 ขวบ เป็นโรคตาสีฟ้า หรือ กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบหนึ่งในล้านเท่านั้น โดยคนไข้กลุ่มนี้เสี่ยงหูหนวก 60% ซึ่งเด็กหญิงฝาแฝดทั้งสองมีอาการหูหนวกด้วย

Advertisements

นางคำจัน อายุ 41 ปี แม่ของน้องกิ๊ฟ ซึ่งเป็นชาว สปป ลาว อาศัยอยู่บ้านเช่าหลังหนึ่งในจ.นครพนม เผยว่า ตนมาช่วยพี่สาวซึ่งเป็นยายของน้องกิ๊ฟและน้องแก้ม ขายแตงโมที่ตลาดสดบ้านต้อง และตลาดนัดจุดผ่อนปรนไทย-ลาว อ.ธาตุพนม ทุกวันพฤหัสบดี

แม่ของน้องกิ๊ฟ บอกด้วยว่าเธอเองก็เป็นคู่แฝดเหมือนกัน แต่อีกคนอยู่ฝั่งลาว แฝดคนนั้นพูดไม่ได้และไม่ได้ยินแต่ฉลาดมาก ส่วนตนพูดได้ แต่หูข้างซ้ายได้ยินไม่ชัด

ส่วนลูกสาวทั้ง 2 คน นางคจันคนเป็นแม่เล่าว่าเดิมทีดวงตาของเด็กทั้งสองเป็น “สีน้ำตาล” แต่เริ่มมีอาการผิดปกติค่อยๆ มีตาสีฟ้าตอนอายุ 8-9 เดือน ส่วนหูน้ไม่ได้ยินเพิ่งมารู้ตอนงอายุได้ 3-4 เดือน หมอแจ้งว่าเป็นโรคหูเสื่อมกับหอบหืด โดยน้องแก้มมีตาสีฟ้า 2 ข้าง หูได้ยินเล็กน้อยจึงต้องการเครื่องช่วยฟัง

“น้องกิ๊ฟ” ตาสีฟ้าข้างเดียว หูหนวกสนิท ปัจจุบันเรียนทั้งคู่เรียนอยู่ชั้น ป.2 ที่ผ่านมาหัวอกแม่สารภาพใช้ชีวิตลำบากมาก เนื่องจากลูก 2 คน เข้า-ออกรพ. บ่อยครั้ง ที่แย่กว่านั้นคือยังถูกบูลลี่

อย่างไรก็ดี แม่เด็กยืนยันทั้งสองคนเรียนและวาดรูปเก่ง ทั้ง 2 คนเป็นคนไทย ได้เงินผู้พิการเดือนละ 800 บาท ส่วนแม่มีรายได้จากการไปช่วยขายแตงโมกับพี่สาว เพิ่งจะวันเกิดลูกสาวแฝดทั้ง 2 คน ครบ 9 ขวบ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา

Advertisements

แม่เด็กยังยืนกรานไม่อยากจะเปิดรับบริจาคเพราะเคยถูกมิจฉาชีพนำรูปภาพไปหลอกคนอื่น

ทั้งนี้ เคสของน้องกิ๊ฟ-น้องแก้ม ไม่เด็กน้อยรายแรกๆ ที่ถูกเปิดเผยว่ามีดวงตาสีฟ้า ย้อนกลับไปเมื่อ 17 มี.ค. 2564 เว็บไซต์ผู้จัดการเปิดเผยเรื่องราวของ น้องออมสิน ซึ่งข้อมูลจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Jeab Jintana” ระบุอาการของเด็กซึ่งเป็นข่าวเมื่อ 3 ปีก่อนว่า น้องพูดไม่ได้ ส่วนแม่น้องก็พูดไม่ได้เหมือนกัน โดยตอนที่เป็นข่าวทางเพจโรงพยาบาลสมิติเวชก็ได้ทำคลิปบอกมาเล่าถึงสาเหตุและรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงโรคนี้มีทางรักษาได้หรือไม่ด้วย.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button