“ทนายตั้ม” คดีพรากผู้เยาว์ รู้แล้ว จบยังไง “อัจฉริยะ” เฉลย ทำไมยังได้เป็นทนาย

สืบเนื่องจากกรณี เพจเฟซบุ๊ก ได้โพสต์ภาพใบทะเบียนประวัติข้อมูลอาชญากร แล้วตั้งข้อสังเกตว่า ชื่อเป็นนาย ณัฐวุฒิ เบี้ยบังเกิด กับ คดีพรากผู้เยาว์ แล้วตั้งคำถามให้คนสงสัยว่า ใช่คนเดียวกับ ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือไม่นั้น
เรื่องนี้ไขกระจ่างแล้ว ว่า ทนายตั้ม เคยโดนแจ้งความคดีพรากผู้เยาว์จริง เหตุเกิดเมื่อปี 2543 อ้างอิงจากการแถลงของ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เล่าว่า ตอนนั้นทนายตั้มใช้ชื่อเก่า เป็นผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับลูกตำรวจที่เป็นเยาวชนร่วมกับบุคคลอื่นรวม 4 คน โดย 3 คนถูกออกหมายจับ แต่ทนายตั้มมามอบตัวกับตำรวจเอง
สุดท้ายแล้วคดีจบลงที่ “อัยการสั่งไม่ฟ้อง” คดีจึงถึงที่สุด จากนั้นเกิดกฎหมายลบล้างมลทินจนลบประวัติออกไป ทำให้ทนายคนดังสามารถรับใบอนุญาตทนายความได้เมื่อปี 2547
ดังนั้นคดีดังกล่าว เท่ากับว่า สิ้นสุดลงสมบูรณ์แล้ว ไม่ถึงกระบววนการศาล ทนายตั้มได้ใบอนุญาตทนายความมาอย่างถูกต้อง
กฎหมายล้างมลทินคืออะไร?
ประเทศไทยได้ทำพระราชบัญญัติล้างมลทิน มาแล้ว 8 ฉบับ มีผลถึง ผู้ต้องโทษในความผิดต่างๆที่พ้นโทษไปแล้ว รวมถึงผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยที่ได้รับการลงโทษทางวินัยไปแล้ว มีผลทางกฎหมายให้ถือว่าบุคคลที่เคยถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำความผิด เป็นไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน และสำหรับผู้ที่เคยถูกลงโทษทางวินัยก็ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ มาก่อน(สถาบันพระปฎเกล้า)
เหตุผลในการประกาศพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสต่างๆ มักทำเพื่อเป็นการให้อภัยทาน เป็นการได้บำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งให้บุคคลที่ถูกลงโทษไปแล้วมีสิทธิสมบูรณ์เหมือนประชาชนพลเมืองทั่วไป
คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ
ตามมาตรา 35 ผู้ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต
(3) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรืออนุปริญญาจากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันการศึกษานั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่อง ในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
(5) ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(6) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(7) ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
(8) ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(9) ไม่เป็นผู้มีกายพิการหรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพทนายความ
(10) ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำเว้นแต่ข้าราชการการเมือง
(11) ไม่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตตามมาตรา 71
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘ทนายตั้ม’ โพสต์ตัดพ้อ “ใครใครก็ไม่รักผม” หลังเจอมรสุมชีวิต
- ทนายตั้ม อ่วม “เจ๊อ้อย” ฟ้องเพิ่มอีกข้อหา ปมเผยข้อมูลส่วนตัว-ทำชีวิตพัง
- ทนายตั้ม ส่งข้อความแจง “หนึ่ง บางปู” เรื่องเงิน 10 ล้าน ปมบิ๊กตร. ยังเงียบ