แฉสถิติ ผู้ชาย 90% เคยซื้อกิน? สังคมเดือด เมนต์เสียงแตก แห่โต้อย่าเหมารวม
โซเชียลถกเดือด คลิปไวรัล “ผู้ชาย 90% เคยซื้อกิน” จริงแท้แค่ไหน เพจดังโผล่วิเคราะห์ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ไม่ควรเหมารวมไหม? ชี้ความชอบทุกคนต่างกัน ด้านคอมเมนต์เดือดสู้
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเดือดสุด ๆ เมื่อเพจเฟซบุ๊ก ลองวิเคราะห์ดู ที่มีผู้ติดตามกว่า 3.6 แสนคน ได้ออกมาโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นถึงคลิปไวรัลบนโซเชียลที่ว่า “90% ผู้ชายซื้อกินหมด” ซึ่งในคลิปดังกล่าวได้ปรากฏภาพของอินฟลูเอ็นเซอร์รายหนึ่ง ถามชายหนุ่มวัย 34 ปี ว่า “เคยซื้อกินไหม?” ซึ่งคำตอบก็คือ “การซื้อกินเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกคนซื้อกินหมด 90% เคยซื้อกิน ถ้าใครบอกไม่เคยก็ อย่าไปเชื่อ โม้! ปลอม!!”
หลังคลิปดังกล่าวได้รับความสนใจและกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกโซเชียล ด้านเพจดังจึงได้หยิบยกประเด็นนี้มาวิเคราะห์ตามชื่อเพจ โดยระบุว่า เรื่องนี้สามารถแยกพิจารณาได้เป็นหลายประเด็น ทั้งความพึงพอใจส่วนบุคคล หากไม่เดือดร้อนผู้อื่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด รวมถึงเรื่องของข้อกฎหมาย และการมองคุณค่าของเงิน ซึ่งแต่ละคนพอใจที่จะใช้เงินจำนวนเท่ากันกับเรื่องที่ต่างกัน ดังนั้นการเหมารวมอาจจะไม่คำตอบที่ถูกต้อง
โพสต์ฉบับเต็มระบุข้อความไว้ดังนี้ “จริงหรือไม่ที่ผู้ชายส่วนใหญ่ 90% เคยซื้อกิน? ซื้อกินที่ว่าไม่ใช่ซื้อกับข้าว แต่เป็นการซื้อบริการอย่างว่านั่นแหละ.. (ดักขนาดนี้แล้วยังอยากเล่นมุกสั่งแอปฯ ไรเดอร์อะไรก็เอาเลย)
เรื่องมันเกิดจากคลิปคอนเทนต์ของอินฟลูฯ ท่านนึงถามชายหนุ่มวัย 34 ว่า เคยซื้อกินไหม? ได้คำตอบมาว่า.. การซื้อกินฯ เป็นเรื่องธรรมชาติ “ทุกคนซื้อกินหมด” 90% เคยซื้อกินถ้าใครบอกไม่เคยก็..อย่าไปเชื่อ โม้! ปลอม!! เท่านั้นแหละเหล่าคอมเมนต์ก็ถล่มยับ ทำนองว่าเอาอะไรมามั่นใจขนาดนั้นว่าคนส่วนใหญ่เคยซื้อกิน? เอาบรรทัดฐานตัวเองมาเป็นตัววัดได้เหรอ? สังคมที่อยู่ต้องเป็นแบบไหน? อืม.. มาประเด็นนี้ก็ต้องแยกเป็นเรื่อง ๆ อีก
บอกก่อนว่าการซื้อกินไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย หากโสดหรือทั้งคู่ consent กันและไม่ทำร้ายจิตใจใคร มันคือความพอใจส่วนบุคคล เรื่องกฎหมายก็แยกเป็นหัวข้อไปอีก แต่ในหลักความพอใจ สามารถกระทำโดยไม่กระทบใครได้ และต้องรู้จักรับผิดชอบตัวเองและสังคม
ซึ่งแม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ขนาดนั้นว่าผู้ชายทุกคนหรือส่วนใหญ่จะเคยซื้อกินขนาดที่ว่า 90% อย่าลืมว่ามนุษย์เราต่างความชอบต่างความพอใจ บางคนชอบก็มี บางคนไม่ชอบก็มี พอใจที่ในรสนิยมอีกแบบ รวมไปถึงการมองคุณค่าของเงินก็ต่างกันอีก
ยกตัวอย่างนาย A ได้โบนัสมา 4-5 พัน นายเออาจมองว่ามันคุ้มค่ามาก ๆ ที่จะไปลงอ่างฯ และรับบริการดังกล่าว แต่นาย B อาจเอาเงินก้อนนั้นไปเติมเกมแทน เพราะมันอาจมอบความสุขในรูปแบบที่เขาต้องการมากกว่า และเลือกที่จะชัก wow อยู่หน้าคอมฯ แทน
ตัวอย่างสมมตินี้ต้องการจะบอกว่า อย่าคิดว่าทุกคนจะชอบเหมือนกัน เพราะความพอใจคนเรามันหลากหลายมากกว่านั้น แต่คอมเมนต์นี้ก็น่าสนใจ เพราะเขาบอกว่าถ้าเขาอยู่ท่ามกลางคนซื้อกินเขาจะมองแบบนั้นก็ไม่แปลก มันแล้วแต่สังคมที่อยู่ด้วย ซึ่งคน type เดียวกันมันก็ดึงดูดกันก็เข้าใจได้อีก
อืม.. แต่ละท่านลองมาแสดงมุมมองเพื่อน ๆ รอบตัวกันได้เท่าที่รู้มาคิดว่าผู้ชายปกติแล้วเคยซื้อกินเยอะไหม? ลองมาแชร์กัน”
แน่นอนว่าหลังเผยแพร่โพสต์ออกไป ชาวเฟซบุ๊กก็แห่คอมเมนต์เดือดไม่แพ้กัน ซึ่งงานนี้คอมเมนต์ดูเหมือนจะแตกเป็นสองฝั่ง ส่วนหนึ่งเผยว่าหากวัดจากคนรอบตัว จำนวน 90% ก็ถือว่าไม่เกินจริง ในขณะที่อีกกลุ่มเล่าว่าตนและคนรอบตัวก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นก็อาจจะขึ้นอยู่กับสังคมที่แต่ละบุคคลอยู่ว่าเขามีความพึงพอใจในการใช้เงินกับสิ่งใด อาทิในข้อความที่ว่า
“90% ของคนที่อยู่รอบตัวเขาเป็นแบบนั้น เขาก็เข้าใจแบบนั้นก็ไม่ผิดอะไรครับ อย่างแอดว่าการใช้เงินซื้อความสุขของแต่ละคนอยู่ที่ความพึงพอใจส่วนบุคคล การซื้อกินก็เป็นทางนึงไม่ได้ผิดแปลกอะไร”
“คุณเป็นคนยังไง แบบไหน ก็ย่อมอยู่ในสังคมแบบนั้น แว่นของกรอบภาพที่คุณมองก็แค่มองในสังคมที่คุณคบหาตามลักษณะนิสัย และสามัญสำนึกในการเลือกหาสังคมของคุณครับ”
“มันอยู่ที่สังคมรอบข้างแต่ละคน ผิดตรงที่เหมารวมชาวบ้านนี่ล่ะ”
อย่างไรก็ดี ขณะนี้โพสต์ดังกล่าวยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง และยังมีชาวเน็ตอีกมากมายเข้ามาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้
ประเทศไทย การค้าประเวณียังไม่ถูกกฎหมาย
ในประเทศไทย การซื้อบริการทางเพศถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ภายใต้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ซึ่งกำหนดให้การค้าประเวณีเป็นความผิด การจ่ายเงินหรือซื้อบริการทางเพศก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการในสถานบันเทิง การล่อลวง และการใช้ประโยชน์จากการค้าประเวณี ซึ่งได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยกฎหมายไทย
สำหรับประเทศที่การค้าประเวณีถูกกฎหมาย มีหลายประเทศที่อนุญาตหรือมีการควบคุมภายใต้กฎหมาย เช่น
เนเธอร์แลนด์ – การค้าประเวณีถูกกฎหมายและควบคุมโดยรัฐ ผู้ค้าประเวณีต้องลงทะเบียนและปฏิบัติตามกฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัย
เยอรมนี – การค้าประเวณีถูกกฎหมาย และมีการควบคุมอย่างเป็นระบบ ผู้ค้าประเวณีต้องเสียภาษีและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
นิวซีแลนด์ – การค้าประเวณีถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2003 โดยรัฐเข้ามาดูแลและควบคุมสถานบริการ
ออสเตรเลีย (บางรัฐ) – รัฐเช่นนิวเซาท์เวลส์อนุญาตให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย แต่ในบางรัฐการค้าประเวณียังคงผิดกฎหมาย
สวิตเซอร์แลนด์ – การค้าประเวณีถูกกฎหมาย และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เข้มงวดด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชน
ออสเตรีย – การค้าประเวณีถูกกฎหมาย แต่มีการกำหนดให้ผู้ค้าประเวณีต้องลงทะเบียนและได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ประเทศเหล่านี้จะมีข้อบังคับในการควบคุมเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน สุขภาพ และสวัสดิการของผู้ค้าประเวณี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไวรัล ‘ขึ้นรถผิดสาย’ คอนเทนต์ที่กำลังฮิต บนโลกโซเชียล รู้ที่มาแล้วแอบเศร้า
- คลิปไวรัล ฝรั่งสำรวจสุสาน คิดว่าเป็นที่ย่างหมู ชาวเน็ตแห่เม้นต์ รีบออกมาด่วน
- หนุ่มกลุ้ม อยากเลิกกับแฟน อ้างอีกฝ่าย “ต่ำกว่า” ยอมรับคบเพราะถูกกว่าซื้อกิน