ข่าว

“ตัวกล้วยตาก” ที่ไม่ใช่ “กล้วยตาก” คือตัวอะไร? หลังไทยพบสายพันธุ์ใหม่

ไขข้อสงสัย ตัวกล้วยตาก ที่ถูกค้นพบสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย แต่ละถิ่นเรียกชื่อต่างกัน “แมงลิ้นหมา – ขี้ตืกฟ้า” สรุปแล้วคือตัวอะไรกันแน่ ?

เป็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากกับ “ตัวกล้วยตาก” สัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้บพบในประเทศไทย โดยคืนวันที่ 22 กันยายนเฟซบุ๊กเพจทางการของหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Animal Systematics Research Unit, CU) เผยแพร่รายละเอียดการค้นพบ “ตัวกล้วยตาก” สายพันธุ์ใหม่ของโลกทั้งหมด 2 ชนิดในประเทศไทย ประกอบไปด้วย

Advertisements

“ตัวกล้วยตากหลังเกลี้ยง” หรือ Valiguna semicerina (Mitchueachart & Panha, 2024) พบได้ส่วนมากที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย และโซนประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ อีกสายพันธุ์คือ “ตัวกล้วยตากถ้ำขมิ้น” หรือ Valiguna crispa (Mitchueachart & Panha, 2024) มักพบได้แค่ที่ถ้ำขมิ้น จ.สุราษฎร์ธานี

"ตัวกล้วยตากหลังเกลี้ยง" หรือ Valiguna semicerina (Mitchueachart & Panha, 2024) พบได้ส่วนมากที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย และโซนประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์ อีกสายพันธุ์คือ "ตัวกล้วยตากถ้ำขมิ้น" หรือ Valiguna crispa (Mitchueachart & Panha, 2024) มักพบได้แค่ที่ถ้ำขมิ้น จ.สุราษฎร์ธานี
ภาพจาก : Animal Systematics Research Unit, CU

เนื่องจากหน้าตาภายนอกของตัวกล้วยตากมีความคล้ายคลึงกันมาก จึงต้องอาศัยข้อมูลอวัยวะภายในและแผนภูมิต้นไม้เชิงวิวัฒนาการจากข้อมูลดีเอ็นเอในการแยกชนิด เพื่อศึกษาในสกุล Valiguna ทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งหลังการค้นพบ ตัวกล้วยตาก ในประเทศไทย พบว่ามีทั้งหมด 3 ชนิด ชนิดที่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้คือ Valiguna Siamensis (Martens, 1867) หรือตัวกล้วยตากสยาม มีการกระจายทั่วประเทศไทย รวมถึงในประเทศเมียนมาร์และลาว

ภาพจาก : Animal Systematics Research Unit, CU

สำหรับ ตัวกล้วยตาก แท้จริงแล้วคือ ทากเปลือยบก (land slug) สัตว์กลุ่มนี้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภาคของประเทศไทย เช่น คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า แมงลิ้นหมา หรือ ตัวลิ้นหมา คนภาคเหนือเรียกว่า ขี้ตืกฟ้า คนภาคใต้เรียกว่า ทากฟ้า และคนภาคกลางเรียกว่า ตัวกล้วยตาก หรือ ทากดิน มักพบอาศัยตามกองใบไม้ผุพัง ใต้ขอนไม้ หรือบริเวณที่มีวัตถุปิดคลุมหน้าดิน ทั้งในแหล่งธรรมชาติและแหล่งที่ถูกรบกวนโดยมนุษย์

งานวิจัยนี้ได้เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทากเปลือยบกในวงศ์ Veronicellidae โดยชี้ให้เห็นว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมของทากเปลือยบกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ได้รายชื่อชนิดที่ครอบคลุมใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพต่อไปได้ในอนาคต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Advertisements

อ้างอิง : Animal Systematics Research Unit, CU

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button