ไลฟ์สไตล์

แต่งงานแล้ว จดทะเบียนสมรสดีไหม ชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสีย ก่อนตัดสินใจ

ตอบคำถามแต่งงานกัน ควรจดทะเบียนสมรสหรือไม่ ข้อดีและข้อเสีย พร้อมสิทธิต่าง ๆ ตามกฏหมายของคู่สามีภรรยาที่จะได้รับ

การแต่งงานคือจุดเริ่มต้นชีวิตคู่ที่สวยงาม แต่ก็มีคู่รักหลายคู่มักลังเลใจว่า ควรจดทะเบียนสมรสหรือไม่ แม้ทะเบียนสมรสจะเป็นเพียงเอกสารสำคัญทางกฎหมาย แต่ก็มีผลกระทบต่อชีวิตคู่ในหลายด้าน ทั้งในแง่ของสิทธิประโยชน์เรื่องทรัพย์สิน มรดก การแบ่งหนี้สิน ขั้นตอนการทำธุรกรรมการเงินอื่น ๆ รวมไปถึงสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร และภาระผูกพันที่เกิดขึ้น มาทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจครั้งสำคัญนี้

Advertisements

สำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนแต่งงาน แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะจดทะเบียนสมรสดีไหม บทความนี้จะมาแนะนำข้อมูลนี้อาจช่วยในการตัดสินใจของคุณได้

ประเทศไทยมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าการจดทะเบียนสมรสสามารถทำได้เพียงครั้งละ 1 คนเท่านั้น

ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส

1. ทะเบียนสมรสยืนยันสถานะสามีภรรยาตามกฎหมายและไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่นได้ หากมีการจดทะเบียนสมรสซ้อนถือเป็นโมฆะ

2. การจดทะเบียนสมรสยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาทสำหรับคู่สมรสที่ไม่มีรายได้หรือเลือกยื่นร่วมกัน

3. คู่สมรสมีสิทธิเข้าถึงมรดกและสิทธิต่าง ๆ เช่น การรับบำเหน็จตกทอดหรือลดหย่อนภาษีจากทางราชการ ในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต

Advertisements

4. บุตรที่เกิดจากการจดทะเบียนสมรสจะมีสิทธิได้รับมรดกและสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องดูแลซึ่งกันและกันตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สินสมรส

5. คู่สมรสยังสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเสียชีวิตของคู่สมรสหรือการมีบุคคลที่สามเข้ามายุ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ได้ โดยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากชู้ที่มีความสัมพันธ์กับคู่สมรสได้ แต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนในการฟ้องร้อง

ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส และภาระหน้าที่พร้อมทรัพย์สินต่างๆ

ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส

1. สำหรับทรัพย์หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังการสมรสทั้งสามีและภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน

2. สินสมรสอาจจะเป็นเรื่องที่จัดการได้ยากเมื่อต้องหย่ากัน เช่น เงินเดือน, โบนัส, เงินพิเศษ หากจดทะเบียนแล้วจะถือเป็นสินสมรสทั้งหมด

3. ยื่นกู้ต่าง ๆ ต้องอาศัยความยินยอมจากคู่สมรส

4. ถ้าสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย

5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกันอาจไม่ต้องรับโทษ เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

ส่วนการไม่จดทะเบียนสมรสนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความง่ายของการทำธุรกรรมที่ต่าง ๆ แต่สิทธิตามกฏหมายที่ควรจะได้ในฐานะสามีหรือภรรยาก็จะไม่ได้รับ ดังนี้

ส่วนการไม่จดทะเบียนสมรสนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความง่ายของการทำธุรกรรมที่ต่าง ๆ แต่สิทธิตามกฏหมายที่ควรจะได้ในฐานะสามีหรือภรรยาก็จะไม่ได้รับ ดังนี้

  • ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใด ๆ ได้ตามกฎหมาย
  • ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ยกเว้นมีชื่อเป็นทายาทตามพินัยกรรม (พินัยกรรมระบุให้รับมรดก)
  • หากพิสูจน์ได้ว่ามีการอยู่กินฉันท์สามีภรรยา มีทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จะถือว่ามีสิทธิร่วมกันในทรัพย์สินนั้น โดยจะมีสิทธิในทรัพย์คนละครึ่ง แต่หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมให้แบ่งทรัพย์สิน อาจต้องฟ้องร้อง (และต้องหาหลักฐานมายืนยัน)
  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของมารดาเท่านั้น และจะไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดา เว้นแต่บิดาจดรับรองบุตร หรือรับรองโดยพฤติการณ์ (เชิดชู ให้ใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู) บุตรจึงจะมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดา และสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูได้ (แต่บิดาไม่มีสิทธิรับมรดกจากบุตร เพราะไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย)
  • ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้

สรุปแล้ว การจดทะเบียนสมรสเป็นเพียงเครื่องยืนยันทางกฎหมายเท่านั้น ส่วนเรื่องความรักและหัวใจของสามีและภรรยาทะเบียนสมรสไม่ใช่เครื่องการันตีว่าทั้งสองจะครองคู่กันได้ยืนยาว ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และหาข้อตกลงร่วมกันบนพื้นฐานของความสุขในครอบครัวมากกว่านี้จะให้ชีวิตคู่ไปกันรอด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button