สสส. เปิด 5 อันดับผลไม้ไทย มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด หวั่นทำลายสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดรายชื่อผลไม้ไทย 5 ชนิดที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย พร้อมแนะนำผลไม้มีน้ำตาลน้อย เหมาะกับสายสุขภาพและผู้ป่วยเบาหวาน
“ผลไม้” เป็นอาหารที่ครองใจใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสายรักสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ผลไม้ก็แฝงไปด้วยปริมาณน้ำตาลที่ไม่ควรมองข้าม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้แก่ประชาชน ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth ในหัวข้อเรื่อง “น้ำตาลในผลไม้ไทยชนิดไหนมีมาก? ชนิดไหนมีน้อย”
5 อันดับผลไม้ไทย มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด
1. มะขามหวาน มีน้ำตาล 58.28 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
2. อินทผลัม มีน้ำตาล 55.30 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
3. พุทราจีนแห้ง มีน้ำตาล 51.35 กรับ ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
4. กล้วยน้ำว้า มีน้ำตาล 23.67 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรับ
5. กล้วยไข่ มีน้ำตาล 21.83 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ข้อมูลที่ทาง สสส. นำมาฝากนั้นเป็นการคำนวณปริมาณน้ำตาลต่อผลไม้น้ำหนัก 100 กรัม หมายความว่ายิ่งรับประทานมาก ร่างกายก็ได้รับน้ำตาลมาก ซึ่งจะยิ่งเป็นภัยต่อสุขภาพ
นอกจากจะเปิดรายชื่อผลไม้น้ำตาลสูง ตัวการทำลายสุขภาพ ทาง สสส. ยังได้แนะนำ 5 อันดับผลไม้ไทยที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ โดยผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กระจับ มีน้ำตาล 0 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม, ตามมาด้วยอันดับ 2 แปะก๊วย มีน้ำตาล 0 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม, อันดับ 3 เมล็ดบัวสด มีน้ำตาล 17 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม, อันดับ 4 แตงไทย มีน้ำตาล 2.5 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม และอันดับสุดท้าย คือ เนื้อมะพร้าวอ่อน มีน้ำตาล 2.8 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การกินผลไม้นั้น นอกจากจะพิจารณาจากปริมาณน้ำตาลแล้ว ชนิดของน้ำตาลก็ควรให้มีฟรุกโตสสูงกว่ากลูโคส โดยต้องรวมส่วนที่แตกตัวออกจากซูโครสด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 4 ผักผลไม้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลี่ยง เสี่ยงน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง
- อ.เจษฎา ตอบแล้ว “กล้วยตาก” น้ำตาลสูงกว่า “ทุเรียน” จริงไหม โต้เพจดังให้ข้อมูลผิด
- สาวหุ่นดี ป่วย ‘ไขมันพอกตับ’ หมอเตือน เป็นเพราะดื่ม ‘น้ำผลไม้’ ผิดวิธี