ไม่รอด! ‘เศรษฐา’ พ้นเก้าอี้นายก ศาลรธน. ฟัน ผิดจริยธรรมร้ายแรง
เศรษฐา ไม่รอด พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีสำนักนายก ศาลชี้ต้องรู้อยู่แล้ว
จากกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 17/2567)
สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 40 คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ 1) ได้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ 2) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 2 เคยถูกศาลฎีกามีคำสั่ง จำคุกเป็นเวลาหกเดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2
โดยฝ่ายผู้ถูกร้อง นายเศรษฐา และนายพิชิต ได้มอบหมายให้ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี มาฟังแทน
โดยศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ผู้ถูกร้องที่ 2 (พิชิต ชื่นบาน) เคยต้องโทษ นำถุงกระดาษใส่เงินสดให้ศาลฎีกา และมีพฤติการณ์ที่เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น โดยมีเจตนาการกระทำอันมิชอบโดยมิหน้าที่ ที่อาจจะทำให้เป็นประโยชน์ การกระทำที่ไม่เรียบร้อยต่อศาล และหน้าจะมีมูลความผิดติดสินบน ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 2 จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันและเสื่อมศรัทธา กระทบความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม
ต่อมามีพระราชโองการแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 1 (เศรษฐา) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ปรากฎผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กราบบังคมทูลปรับตำแหน่ง และปรากฎชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี จึงนำไปสู่การพิจารณา
โดยศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้พฤติการณ์ผู้ถูกร้องที่ 2 ตามที่ถูกกล่าวหาว่าอาจมีข้อห้ามตามคำสั่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากการตรวจสอบกระบวนผู้ถูกร้องที่ 1 ควรรู้ถึงพฤติการณ์ผู้ถูกร้องที่ 2 ก่อนตัดสินใจแต่งตั้งรัฐมนตรี
หากผู้ร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้พฤติการณ์ผู้ถูกร้องที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เป็นการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์และสุจริตหรือไม่ โดยข้อเท็จจริงต้องข้อที่ยุติเหตุ แต่ผู้ถูกร้องที่ 2 มีข้อต้องหา การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ย่อมปฏิบัติไม่ชอบ เพราะเสนอผู้ไม่สมควร แม้ผู้ถูกร้องที่ 1 จะอ้างว่ามาจากพื้นหลังทางการเมืองที่จำกัด จึงวินิจฉัยไม่ได้ เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาสูงสุด ต้องรับผิดชอบทุกการกระทำ
การที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งใครเป็นคณะรัฐมนตรี ไม่ได้อาศัยแค่ความไว้ใจ ต้องได้รับความเชื่อถือจากประชาชนจากประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง จึงเป็นคุณสมบัติต้องห้ามสำคัญ ดังนั้นผู้ถูกร้องที่ 1 จึงขาดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
เห็นว่าการเสนอการแต่งตั้งของรัฐมนตรี 1 ในการเลือกสรรว่าเป็นคนที่ได้รับความไว้ใจจากสาธารณชน จะอ้างว่ามาจากพื้นหลังทางการเมืองที่จำกัด จึงวินิจฉัยไม่ได้ เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เนื่องจากการพิจารณาความซื่อสัตย์ ไม่ได้ต้องใช้ความรู้ความชำนาญก็พิจารณาได้
ข้อกล่าวหา ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติกรรมฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง เข้าพบบุคคลที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าทนายความประจำตัว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจในการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลดังกล่าว เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความสื่อสัตย์สุจริตเป็นประจักษ์ เกิดให้ความเสื่อมเสียกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กระทบความเชื่อถือศรัทธานายกรัฐมนตรี ขัดต่อจริยธรรม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยตลอดแล้ว แต่ยังเสนอแต่งตั้งแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ขาดคุณสมบัติ ย่อมเป็นการกระทำฝ่าฝืนจริยธรรมศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง อาศัยเหตุผลข้างต้น เสียงข้างมาก 5:4 วินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง