ประวัติ พิชิต ชื่นบาน นักกฎหมาย เคียงบ่าตระกูลชินวัตร คีย์แมนคดีเศรษฐา
ประวัติ พิชิต ชื่นบาน คือใคร คีย์แมนคนสำคัญ คคีเศรษฐา แต่งตั้งคนขาดคุณสมบัติ นักกฎหมายมือฉมัง ทนายความคู่ใจตระกูลชินวัตร ดูแลคดีสำคัญมาตั้งแต่ยุคไทยรักไทย
พิชิต ชื่นบาน เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2502 เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญมากในช่วงยุคของรัฐบาลไทยรักไทย เรื่อยมาจนถึงพรรคเพื่อไทย ยุคนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน โดยเฉพาะในความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับตระกูลชินวัตร งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากบทบาทในการสู้คดีต่าง ๆ ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความของตระกูลชินวัตร
พิชิต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นจึงศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขานิติศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และสาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พิชิต ฐานะมือกฎหมาย ทนายความยุคไทยรักไทย
ในยุคที่พรรคไทยรักไทยกำลังรุ่งเรือง ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายพิชิต ชื่นบาน ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในฐานะทนายความคนสำคัญของพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้คดีความทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในเกมชิงอำนาจตอนนั้น
นายพิชิตถือเป็น ทนายความคู่ใจของตระกูลชินวัตร ได้รับความไว้วางใจให้เป็นหัวหน้าทีมทนายความในคดีสำคัญหลายคดี โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว เช่น คดีซุกหุ้น คดีปกปิดทรัพย์สิน และคดีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่พรรคไทยรักไทยบริหารประเทศ
นอกจากการต่อสู้คดีในศาล นายพิชิตยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับพรรคไทยรักไทย โดยมีส่วนสำคัญในการกลั่นกรองร่างกฎหมายและนโยบายต่างๆ ของพรรค รวมถึงให้คำปรึกษาในประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศ
หนึ่งในคดีสำคัญที่สุดที่นายพิชิตมีส่วนร่วมคือคดีที่ดินรัชดา ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2551 หลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบไปแล้ว แต่ยังเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง คดีนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของนายพิชิต จากกรณีหิ้วถุงขนมใส่เงิน 2 ล้านบาท ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาล จนถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุก ฐานละเมิดอำนาจศาลสถานหนัก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา
ด้วยความเชี่ยวชาญทางกฎหมายและความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำพรรค นายพิชิตยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างพรรคไทยรักไทยกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเผชิญกับวิกฤตทางการเมืองและการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม นายพิชิตมีบทบาทสำคัญในการปกป้องภาพลักษณ์ของพรรคและผู้นำพรรค โดยใช้ความรู้ทางกฎหมายในการโต้แย้งข้อกล่าวหาต่างๆ ทั้งในศาลและในที่สาธารณะ
บทบาทพิชิต ชื่นบาน ยุครัฐบาลยิ่งลักษ์
นอกจากทางกฎหมาย พิชิตยังมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญ โดยในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย และมีส่วนในการกลั่นกรองกฎหมายที่สำคัญ ๆ รวมถึงการสนับสนุนกฎหมายนิรโทษกรรม จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557
ในปี พ.ศ. 2562 พิชิตเข้าร่วมพรรคไทยรักษาชาติ และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรค อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ พิชิตจึงกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน พิชิตได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เขากลับประกาศสละตำแหน่งด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ต้องการให้การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า
ประเด็นขาดคุณสมบัติ ความวุ่นวายช่วงตั้งคณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1
ความปรากฎว่า ในช่วงของการตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ได้ประกาศไม่ขอรับตำแหน่งรัฐมนตรี หลังมีชื่อได้นั่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยันว่าคุณสมบัติของตนเองครบถ้วนถูกต้องทุกประการ ไม่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามใดๆ ทั้งสิ้น
นายพิชิตอ้างว่าต้องการให้การจัดตั้งรัฐบาลของนายเศรษฐาสำเร็จโดยเร็ว ขณะที่นายเศรษฐา ก็ไม่มีการดึงคนในพรรคเพื่อไทยมานั่งแทน และยังเว้นว่างเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีก 1 เก้าอี้ ไว้รอนายพิชิต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนการแต่งตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ยังให้สัมภาษณ์กับสื่อ ภายหลังที่มีชื่อจะได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนั้น ว่า “ตนเองเป็นคนทำงาน อยู่ตรงไหนก็สามารถทำงานได้หมด” ต่อมา สว จำนวน 40 คน ยื่นเรื่องประเด็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าพิชิตขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 160 (4) ส่งผลให้พิชิต ยื่นลาออกในวันที่ 21 พฤษภาคม โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและให้ประเทศเดินต่อไปได้
ใช้เกมแต่งตั้งพิชิต ถอดถอนเศรษฐา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เรื่องราวนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน 2567 เมื่อ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยกล่าวหาว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อาจกระทำผิดจริยธรรมร้ายแรง จากการแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกสภาทนายความถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ และถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ฐานละเมิดอำนาจศาลในปี 2551
กรณีนี้ได้นำไปสู่การร่วมกันเข้าชื่อของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เพื่อยื่นเรื่องต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา (ในขณะนั้น) ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัยความสิ้นสุดลงของตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา และตำแหน่งรัฐมนตรีของนายพิชิต ชื่นบาน
อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 หลังดำรงตำแหน่งเพียง 23 วันเท่านั้น แต่แม้ว่านายพิชิตจะลาออกแล้ว แต่คดีการถอดถอนนายเศรษฐายังคงดำเนินต่อไป ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย 14 สิงหาคม 2567