รู้จัก “ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ” ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสี่ยงเกิดมะเร็ง
ทำความรู้จัก ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ (Hypogonadism) ความบกพร่องของฮอร์โมน ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งบางชนิด เช็กวิธีการดูแลรักษาร่างกาย ป้องกันอาการรุกลาม
ประจำเดือนมาไม่ปกติ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่องคลอดแห้งรู้สึกไม่สบายตัว อารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย มีความรู้สึกทางเพศน้อยลงหรือมากเกินไป ผมร่วงหรือบางลง น้ำหนักขึ้นง่ายและลดลงยาก กระดูกเปราะง่าย นอนหลับยาก มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือน ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ หากพบอาการเหล่านี้หรือเกิดหลายอาการพร้อมกันต้องรีบรักษา
ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ “เคมีในร่างกาย” หรือ “นิสัยส่วนตัว”
ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ หรือ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหญิง หมายถึง ภาวะที่รังไข่ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่) และฮอร์โมนเพศ (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) ลดลง
เนื่องจาก ฮอร์โมน (Hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ จะมาจากอวัยวะที่เรียกว่าต่อมไร้ท่อหลัก ๆ 8 อวัยวะ มีหน้าที่ทั้งการเผาผลาญ การเจริญเติบโต พัฒนาการเรื่องของเพศ รวมถึงกระดูกและข้อ ในปริมาณและหน้าที่ของฮอร์โมนแต่ละช่วงวัย ดังนั้น สัญญาณของภาวะฮอร์โมนผิดปกติก็จะขึ้นอยู่กับว่ามาจากฮอร์โมนประเภทไหน
สำหรับเพศหญิง ฮอร์โมนหลักที่สำคัญคือ ฮอร์โมเอสโตรเจน Estrogen ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืมพันธุ์เพศหญิงซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และส่วนน้อยผลิดจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติมโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีและหมดของประจำเดือน การตั้งครรภ์ หากมีมากเกินไปจะส่งผลต่ออารมณ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดและมะเร็งบางชนิด
นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอีกหลายตัวได้แก่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone มีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตกและการทำงานพื้นฐานของร่างกาย ฮอร์โมน Follicular stimulating Hormone (FSH) ส่งผลต่อการเจริญเติมโตทางเพศในวัยเจริญพันธุ์ และการสืบพันธุ์ ฮอร์โมน Lutienizing Hormone (LH) มีหน้าที่กระตุ้นรังไข่และส่งผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งช่วงอายุที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงอายุ ความเครียดสะสมจากการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การทานติดหวาน ทานชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การทานของทอด เป็นประจำ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้แก่ สารเคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากสารฆ่าแมลงในผักและผลไม้ที่ทานเข้าไป ยาที่ใช้บางชนิด ควันบุหรี่ ควันรถ
วิธีดูแลสุขภาพให้หายจากภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ
เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำแล้ว สามารถดูแลรักษาสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนอาหารเเละพฤติกรรม ได้ง่าย ๆ ดังนี้
ทานอาหารและสมุนไพรที่เพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง ปรับสมดุลฮอร์โมนให้คงที่ อาทิ
- น้ำมะพร้าว
- นมถั่วเหลือง
- งา
- แคตรอต
- ผักใบเขียว
- โฮลเกรน
- ลูกพรุน
- เมล็ดแฟล็กซ์
- องุ่น
- เต้าหู้เหลือง
- ตังกุยหรือโสมตังกุย
- สมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง เช่น ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง
- สมุนไพรบำรุงเลือด เช่น ฝาง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
- นอนหลับให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์
- ใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวิต รับแสงอาทิตย์ในทุก ๆ วัน เพราะแสงอาทิตย์เป็นตัวกระตุ้นฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
สุดท้ายคือการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษา เช่นการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน หากพบอาการผิดปกติ ควรหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อรักษาและป้องกันได้อย่างทันถ้วงที โดยอาจสังเกตุจากอาการที่พบในแต่ละช่วงวัย ที่แตกต่างกัน
- วัยเด็ก อาจพบอาการพัฒนาการช้า ตัวสูงช้า เรียนรู้ช้า
- วัยรุ่น/วัยเรียน มีปัญหาสิงขึ้นเยอะมากเกินปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
- วัยทำงานหรือวัยกลางคน เช่น ปัญหาทางเพศ มีบุตรยาก เหนื่อยอ่อนเพลีย
- วัยสูงอายุ หมดประจำเดือน ฮอร์โมนลดลง
เมื่อรู้จักกับอาการของภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำแล้ว อย่าปล่อยปละละเลย ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอ เพราะถ้าเกิดโรคขึ้นมาแล้วอาจต้องรักษากันไปอีกนาน
“อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อาหาร 7 ชนิดนี้ไม่เค็ม แต่โซเดียวสูงปรี๊ด ระวังไตพังไม่รู้ตัว
- รวม “สารพิษ” อันตรายถึงชีวิต ไม่ได้น่ากลัวแค่ไซยาไนด์
- อย่าละเลย ‘ขนอ่อน’ ตามร่างกาย หมอเตือน อาจเป็นสัญญาณ ‘มะเร็ง’
อ้างอิง : วิกิพีเดีย Hypogonadism