สุขภาพและการแพทย์

อาหาร 7 ชนิดนี้ไม่เค็ม แต่โซเดียมสูงปรี๊ด ระวังไตพังไม่รู้ตัว

หลายคนคงเคยมีอาการคอแห้ง เวียนหัว รองเท้าคับเพราะเท้าบวม หรือปวดปัสสาวะบ่อยหลังกินอาหารหรือขนมใช่ไหม? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกินโซเดียมมากเกินไป ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะโซเดียมในเลือดสูง ซึ่งอันตรายกว่าที่คิด

รู้ไหมว่า การกินเค็มจัดเป็นเวลานานไม่เพียงเพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังในไทยอีกด้วย ภาวะโซเดียมในเลือดสูงยังอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเกาต์ นิ่วในไต กระดูกพรุน มะเร็งกระเพาะอาหาร เบาหวาน และภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย

โซเดียมในเลือดสูงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ โดยปกติ ร่างกายคนเราควรมีระดับโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 135-145mEq/L แต่ถ้าสูงกว่า 145mEq/L ถือว่าอันตรายมาก มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-70% เลยทีเดียว ภาวะนี้ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย และอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แนะนำว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับเกลือประมาณ 6 กรัม แต่จากข้อมูลของกรมอนามัย พบว่า คนไทยกินโซเดียมเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ถึง 2 เท่า

มาดูกันว่ามีอาหาร 7 ชนิดใดบ้างที่แฝงโซเดียมสูงแบบไม่คนคิดไม่ถึง

  1. ขนมปังปิ้ง: 100 กรัม มีโซเดียม 443 มิลลิกรัม
  2. ชีสแผ่น: 100 กรัม มีโซเดียม 1,594 มิลลิกรัม
  3. คุกกี้: 100 กรัม มีโซเดียม 700 มิลลิกรัม
  4. น้ำสลัดซีซาร์: 100 กรัม มีโซเดียม 1,275 มิลลิกรัม
  5. เครื่องดื่มเกลือแร่: 600 มล. อาจมีโซเดียม 252 มิลลิกรัม
  6. น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น: ครึ่งชาม (300 กรัม) มีโซเดียม 615 มิลลิกรัม
  7. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้ง: 1 ซอง มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม

เห็นไหมว่า อาหารบางอย่างอาจดูไม่เค็ม แต่โซเดียมสูงปรี๊ดเลย

เราสามารถลดความเสี่ยงจากโซเดียมส่วนเกินได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อช่วยขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ
  • เพิ่มอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย กีวี แคนตาลูป ผักโขม เพื่อช่วยปรับสมดุลโซเดียมในร่างกาย
  • ออกกำลังกายและอาบน้ำอุ่นพอประมาณ เพื่อช่วยเพิ่มการขับเหงื่อและกำจัดโซเดียมส่วนเกิน แต่อย่าหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสียเหงื่อมากและโซเดียมต่ำเกินไปได้

การหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูงแฝงและปรับพฤติกรรมการกินให้ดีต่อสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลไตและสุขภาพโดยรวม แชร์ความรู้นี้ให้คนรอบข้างได้รับรู้ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค!

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button