บันเทิง

Soft Power ไหม “สืบสันดาน” ดราม่า สร้างความแตกแยก ถามสนั่น ครอบครัวไทยมีแบบนี้จริงหรือ

ซีรีส์ สืบสันดาน กระแสหลังพุ่งครองความนิยมอันดับ 2 จากทั่วโลก รายการข่าวสรยุทธ เปิดประเด็นร้อน ผลงานสร้างฝีมือคนไทย โผล่ดราม่าหนัก สร้างความแตกแยก ถามกันสนั่นครอบครัวไทยมีแบบนี้จริงหรือ

นาทีนี้แทบไม่มีใครไม่ยี้กับ “ครอบครัวเทวสถิตย์ไพศาล” ตระกูลมหาเศรษฐีชั้นสูง ในซีรีส์ สืบสันดาน (Master of the house) ที่กำลังได้รับความนิยมจากคนดู จนพุ่งติดอันดับ 2 ที่มียอดคนดูสูงสุดจากทั่วโลก ของเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ล่าสุด รายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ก็มีการเปิดประเด็นซึ่งเป็นกระแสของซีรีส์ฝีมือคนไทยเรื่องดังกล่าว

Advertisements

โดยพาดหัวเชิงตั้งคำถามถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อเนื้อหาของหนัง ณ ขณะนี้ ว่า “ครอบครัวไทยมีแบบนี้จริงหรือ ? สืบสันดาน ดราม่าโผล่ สร้างความแตกแยก”

ในรายการได้นำเสนอมุมมองที่มีความเห็นต่อซีรีส์ดังกล่าวที่ติด 10 อันดับแรกจาก 80 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นความคิดเห็นจากท้้งนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิภาพยนตร์และวิดิทัศน์แห่งชาติ บรรณาธิการข่าว และความเห็นส่วนตัวของสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่ยืนกรานชัดเจนว่า ครอบครัวไทยจริง ๆ ไม่น่ามีแบบในหนัง รวมถึงยังสอบถามแฟนข่าวทางบ้านผ่านช่องแชตสนทนาไลฟ์สดในรายการ

กรรมกรข่าวคุยนอกจอ กระแสสืบสันดาน
ภาพ @กรรมกรข่าวคุยนอกจอ
สรยุทธถามความเห็นฟนข่าว ครอบครัวแบบสืบสันดาน
ภาพ @กรรมกรข่าวคุยนอกจอ

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวของข่าวสด ภาคภาษาอังกฤษ (Khaosod English) แสดงความเห็นผ่านบัญชีเอ็กซ์ (X.) @PravitR ระบุ “เหยียบคนจน เหยียดทางชนชั้น พี่น้องฆ่ากันแย่งมรดก ฆ่าคนแล้วไปต้องรับผิดชอบ หรือหนีไปต่างประเทศ >>หรือนี่คือ soft power ไทยที่แท้ทรู? #ป #สืบสันดาน #ซอฟต์พาวเวอร์”

ด้าน อาจารย์แก๊ป ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ส่วนตัวไม่สนับสนุนหนัง ละคร ซีรีส์ ที่แบ่งขาวดำ ตอกย้ำวาทกรรมคนรวยเลว คนจนดี romanticize กับเรื่องชนชั้นจนเกินความจริง ทำให้เรื่องและตัวละครแบน และตอกย้ำภาพอคติที่สร้างความแตกแยกระหว่างกลุ่มคน ที่มันทำง่ายแต่เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ช่วยให้สังคมพัฒนาไปข้างหน้า และมกักจะกลายเป็นเครื่องมือให้กลุ่มอิทธิพลนำไปใช้หาเหยื่อที่ถูกสร้างภาพว่าเป็นผู้ถูกกระทำ สร้างความโกรธแค้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

Advertisements
ความเห็นอาจารย์แก๊ป ซีรีส์สืบสันดาน
ภาพ @กรรมกรข่าวคุยนอกจอ

ส่วนมุม ผศ. สกุล บุญยทัต อาจารย์ประจำภาควิชานาฎ ยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกรรมการตัดสินภาพยนต์หลายเวที กล่าวว่า สืบสันดานเป็นซีรีส์ไทยที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศเนื้อหาไม่ใช่แค่เรื่องชนชั้นอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องสืบสวนสอสวน ชวนลุ้นระทึกติดตาม ฉายให้เห็นกิเลสของตัวละครผ่านชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง

อีกด้านของเนื้อหามีส่วนผสมของน้ำเน่าตามแนวทางของเมโลดรม่า การกระทำของตัวละคร มีความลุ่มลึกของการวางแผนแก้แค้นเพื่อจะเลื่อนฐานะของตัวเอง ขณะที่คนข้างบนก็พยายามจะเหยียบย่ำ

บทบาทของตัวละครชั้นล่าง แม้จะยอมให้เหยียยบย่ำแต่ก็มีความรู้สึกว่าอยากจะต่อสู้ แก้แค้น ซึ่งประเด็นตรงนี้ ผศ. สกุลมองว่าเป็นส่วนสำคัญที่โดนใจคนในหลายประเทศ นักแสดงหลักทั้ง 11 คน ก็เต็มที่กับบทบาท แต่ข้อด้อยก็มี เช่น บทที่ยังเบา ถามคนที่รับชมหนังมามากจะเดาเนื้อหาได้เลย โครงสร้างเหล่านี้ถูกเล่ามาจนช้ำ

อย่างไรก็ดี ผศ. สกุลยังชมเพลงประกอบ รวมถึงบทสรุปที่อาจารย์มองว่า เมื่อใดก็ตามที่นำชีวิตของสังคมไทยมาตีแผ่ แล้วถ้าเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในระดับโลก ก็น่าสนใจเพราะปัจจุบันก็ยังมีเรื่องราวในสังคมไทยอีกหลายมิติ เหมือนอย่างซีรีส์เกาหลีที่พยายามทำแล้วประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ กระแสพูดถึงซีรีส์ดังกล่าวบน #สืบสันดาน ยังคงมีการวิพากวิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องและเผ็ดร้อน อาทิ แอคเคาต์รายหนึ่งออกมายอกว่า “อยากรู้แรงบันดาลใจในการออกแบบตัวละครนี้ มีที่มาที่ไปยังไง”

แรงบันดาลใจ ตัวละครในซีรีส์เรื่องสืบสันดาน
ภาพ @X.

หรืออย่างชาวเน็ตบางรายก็ร่ายยาวปมตั้งสันนิษฐานยิบ ว่า เรื่องคุ้นๆกับ #สืบสันดาน

  1. ไร้เทสแฟชั่นแต่สถาปนาตัวเองเป็นดีไซเนอร์
  2. ได้ไปงานแฟชั่นวีค เพราะนามสกุลดัง รวย
  3. สมสู่กันเองในเครือญาติ
  4. พี่น้องฆ่ากัน แย่งเป็นประธานบริษัท 8/9
  5. กราบหมา
  6. เอาไม่เลือก
  7. ไม่พอใจใคร คนๆนั้นก็หายไป…..

ตอนจบเหมือนจะสื่อถึงคนบางกลุ่ม

ขณะที่ล่าสุด เฟซบุ๊กแฟนเพจ Netflix ได้เขียนแคปชั่นหลังซีรีส์พุ่งครองความนิยมสูงถึงอันดับ 2 โลก ว่า “ดูครบทั้ง 7 อีพี แล้วใครชนะสุด #สืบสันดาน #NetflixTH”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button