การเงินเศรษฐกิจ

ไม่รอด! สั่งปิดโรงงานน้ำปลาร้ายี่ห้อดัง จ.ขอนแก่น พบผิด พ.ร.บ.โรงงาน

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น สั่งปิด 2 โรงงานปลาร้ายี่ห้อดัง 2 แห่ง ปล่อยกลิ่น-น้ำเสีย ตรวจพบเปิดกิจการผิดพระราชบัญญัติโรงงาน

รายงานข่าวจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สั่งการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เร่งตรวจสอบ โรงงานผลิตน้ำปลาร้าสำเร็จรูปแบรนด์ดัง 2 แห่ง หลังชาวบ้านร้องเรียนส่งกลิ่นเหม็นและปล่อยน้ำเสียสร้างความเดือดร้อน

Advertisements

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า โรงงานแห่งแรกมีปัญหาเรื่องการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและการควบคุมกลิ่นไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงถูกสั่งให้เร่งปรับปรุงแก้ไขโดยเร็วที่สุด โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 หากไม่สามารถแก้ไขได้ทันตามกำหนด อาจต้องเผชิญกับมาตรการลงโทษที่รุนแรงขึ้น เช่น การถูกสั่งปิดโรงงานชั่วคราว หรือถาวร

ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 พบว่าเป็นโรงงานเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ (ร.ง.4) ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมาย จึงถูกสั่งให้หยุดดำเนินการทันที และจะไม่สามารถกลับมาเปิดทำการได้อีก จนกว่าจะดำเนินการขอใบอนุญาตและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

กรมโรงงานฯ ยืนยันว่าจะดำเนินการอย่างจริงจังและเด็ดขาดกับโรงงานที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพื่อปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน พร้อมทั้งจะติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของโรงงานแห่งแรกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มีกลิ่นเหม็นคาวปลาโชยตามกระแสลมมากกว่าปกติในช่วงฤดูร้อน แม้ว่าประชาชนจะพยายามร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ

อ้างอิงจากเว็บไซต์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ระบุรายละเอียดว่า

Advertisements

“นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งประสานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น (สอจ.ขอนแก่น) ตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที กรณีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากโรงงานปลาร้าชื่อดัง จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ที่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งและปล่อยน้ำเสียลงหนองน้ำและในที่ดินของประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมานานกว่า 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2560

โดยจะมีกลิ่นเหม็นคาวปลาโชยตามกระแสลมมากกว่าปกติในช่วงฤดูร้อน แม้ว่าประชาชนจะพยายามร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่โรงงานยังคงดำเนินการปรับปรุงไม่แล้วเสร็จ ส่วนโรงงานอีกแห่งกลับถูกตรวจพบว่าไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

นายจุลพงษ์ กล่าวว่า จากการประสานงานเบื้องต้นกับ สอจ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า โรงงานผลิตน้ำปลาร้าทั้ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ประกอบกิจการผลิตน้ำปลาร้าสำเร็จรูปบรรจุขวด”

โรงงานแห่งแรก สอจ.ขอนแก่น ได้สั่งการตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้โรงงานปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษทางอากาศและระบบจัดเก็บวัตถุดิบในอาคารโรงงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต โดยกำหนดปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 แต่โรงงานขอขยายระยะเวลา เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบหม้อต้มให้ทันสมัยไร้กลิ่น รวมทั้งการจัดเก็บวัตถุดิบในถังที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยใกล้เคียง สอจ.ขอนแก่น จึงอนุญาตให้ขยายระยะเวลาปรับปรุงถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 เพื่อให้โรงงานสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับโรงงานแห่งที่ 2 ตรวจสอบพบว่าสถานประกอบการมีลักษณะเข้าข่ายเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 แต่ไม่พบใบ ร.ง.4 ในระบบงานอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนการปฏิบัติตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ สอจ.ขอนแก่น เตรียมสั่งการตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ให้หยุดประกอบกิจการจนกว่าจะได้รับการอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โดยให้มีผลนับถัดจากวันที่โรงงานรับทราบคำสั่ง”

ร.ง.4 หรือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นเอกสารสำคัญที่ออกโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรับรองว่าโรงงานนั้น ๆ

รู้จักเอกสาร ร.ง.4

สำหรับ ร.ง.4 หรือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นเอกสารสำคัญที่ออกโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรับรองว่าโรงงานนั้น ๆ ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการผลิตสินค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่กำหนด

โรงงานที่ต้องมีใบ ร.ง.4 คือโรงงานที่มีกำลังการผลิตตามที่กฎหมายกำหนด หรือโรงงานที่ประกอบกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนโดยรอบ

ดังนั้นการที่โรงงานไม่มีใบ ร.ง.4 ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย และอาจถูกสั่งให้หยุดดำเนินกิจการ รวมถึงอาจต้องเสียค่าปรับหรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button