บันเทิงภาพยนตร์

สรุปดราม่า “ไม่ควรดูพากย์ไทย” ชาวเน็ตเสียงแตก แบบไหนดีกว่า

สรุปดราม่าวงการภาพยนตร์ ผุดแฮชแท็ก #ไม่ควรดูพากย์ไทย นักวิจารณ์หนังไทยชี้ ภาพยนตร์เป็นเรื่องปัจเจก-ศิลปะ ใช้คำว่า “ไม่ควรดู” ถือว่าแรงไป

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 67 เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงกรณีเฟซบุ๊กวิจารณ์หนังเพจหนึ่งโพสต์ข้อความ “Ultraman Rising ควรดูเสียง Eng หรือ JP?” นำไปสู่เรื่องราวดราม่าในช่องคอมเมนต์เกี่ยวกับการเลือกรับชมภาพยนตร์ว่าควรดูเป็นเสียงพากย์ต้นฉบับหรือดูภาษาอื่นแบบไหนดีกว่ากัน กระทั่งเรื่องราวบานปลายใหญ่โต จนเกิดแฮชแท็ก #ไม่ควรดูพากย์ไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เพจวิจารณ์ดังกล่าวได้โพสต์ข้อความระบุว่า มีบุคคลในวงการนักพากย์ไทยไม่พอใจความคิดเห็นในแฮชแท็กดังกล่าว พร้อมอธิบายว่าตนไม่ได้มีเจตนาไม่ดีต่อนักพากย์ไทย เพียงแต่ต้องการเน้นย้ำว่าการรับชมภาพยนตร์ด้วยเสียงต้นฉบับนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพราะนั่นคือสิ่งที่ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการ ทำให้เกิดการถกเถียงสนั่นขึ้นอีกขั้นใต้โพสต์ดังกล่าว

ดราม่าวงการนักพากย์ไทย 67

ล่าสุด ธนพัฒน์ วงษ์วิสิทธิ์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า การพากย์ไทยมีจุดเริ่มต้นมาจากความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ โดยในอดีตการพากย์ไทยสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นทางสังคม และช่วยให้ผู้ชมทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้ง่ายขึ้น

ดราม่า ไม่ควรดูพากย์ไทย 67

พร้อมทิ้งท้ายว่า การรับชมภาพยนตร์เป็นเรื่องส่วนบุคคลและเกี่ยวข้องกับรสนิยมทางศิลปะ การเลือกรับชมภาพยนตร์ด้วยเสียงพากย์ใดจึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า “ไม่ควร” เป็นการสื่อความหมายโดยนัยว่า “ไม่งาม” จึงแนะนำให้เพจต้นเรื่องควรใช้คำที่เหมาะสมกว่านี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button