Line Newsไลฟ์สไตล์

รู้จัก “ประธานนักเรียน” คืออะไร บทบาท-หน้าที่ ในโรงเรียน ใครเป็นผู้เลือก

พาไปทำความรู้จัก “ประธานนักเรียน” ตัวแทนสูงสุดของกลุ่มนักเรียน เปรียบเสมือนหัวเรือหลักที่จะขับเคลื่อนงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนด้วยความราบรื่น ทีมงาน Thaiger ขอพาทุกคนไปทำรู้จักกับบทบาทความรับผิดชอบ หน้าที่ รวมถึงการเลือกตั้งประธานนักเรียน ว่ามีที่มาอย่างไร

ประธานนักเรียน มีหน้าที่ อะไรบ้าง

“ประธานนักเรียน” (Student President) คือ ตำแหน่งสำคัญในโรงเรียน โดยเป็นตัวแทนในการพูดคุย หรือหารือระหว่างนักเรียนและคุณครู เพราะฉะนั้นแล้ว จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องการผู้ที่มีความรับผิดชอบ และสามารถประสานงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่อยากจะเป็นประธานนักเรียนจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

Advertisements

หน้าที่ของประธานนักเรียน

ประธานนักเรียนไม่ได้เป็นเพียงแค่ตำแหน่งที่ดูแลความเรียบร้อยภายในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบอกเสียงแทนความต้องการของเพื่อน ๆ และเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม และดำเนินงานในโรงเรียน

  • คอยดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียน และร่วมหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
  • รับผิดชอบงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
  • ประสานงานกับนักเรียน คุณครู และผู้บริหารของโรงเรียน เพื่อผลประโยชน์ที่นักเรียนควรได้รับ
  • เสนอความคิดเห็นต่อคุณครู เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เป็นผู้คิด ริเริ่ม กิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน
  • คอยประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารภายในโรงเรียน
  • ปฏิบัติงานด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  • รักษาไว้ซึ่งศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

หน้าที่ ความรับผิดชอบของประธานนักเรียน

ใครเป็นประธานนักเรียนได้บ้าง

ตามปกติแล้ว นักเรียนทุกคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่โรงเรียนกำหนด ก็สามารถลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียนได้ โดยโรงเรียนส่วนใหญ่มักกำหนดคุณสมบัติหลักเพื่อคัดเลือก ดังต่อไปนี้

1. ผลการเรียนดี

Advertisements

ส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนจะกำหนดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยขั้นต่ำ เพื่อให้มั่นใจว่าประธานนักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานเรียนของตนเอง

2. ความประพฤติเหมาะสม

ประธานนักเรียนควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อน ๆ ดังนั้น ความประพฤติที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. มีภาวะผู้นำ

ประธานนักเรียนต้องสามารถนำทีม จัดการกิจกรรม และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีความคิดสร้างสรรค์

ประธานนักเรียนควรมีไอเดียใหม่ๆ ในการพัฒนาโรงเรียนและกิจกรรมต่าง ๆ

5. มีทักษะการสื่อสารที่ดี

ประธานนักเรียนต้องสามารถสื่อสารกับเพื่อน ๆ ครู และผู้บริหารได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ โรงเรียนบางแห่งอาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติม เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน หรือการไม่มีประวัติการทำผิดวินัย

ขั้นตอนการเลือกตั้งประธานนักเรียน

1. โรงเรียนแต่งตั้งคณะครูที่ปรึกษากิจกรรมสภานักเรียน ประชุมวางแผน และศึกษาแนวทางการดำเนินงา

2. จัดทำระเบียบ ข้อบังคับ และคู่มือแนวทางการดำเนินงานสภานักเรียน

3. ครูที่ปรึกษาสนับสนุนให้นักเรียนตั้งกลุ่ม หรือพรรค เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเลือกตั้งสภานักเรียน

4. โรงเรียนจะเปิดรับสมัครผู้แทนสภานักเรียน

5. เปิดโอกาสให้นักเรียนหาเสียงเลือกตั้ง โดยจะมีการกำหนดนโยบายที่จะทำหลังจากชนะการเลือกตั้ง และได้รับเลือกให้เป็นประธานนักเรียน

6. เลือกตั้งผู้แทนนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

6.1 ตรวจสอบรายชื่อ หรือบัตรนักเรียน

6.2 รับบัตรเลือกตั้ง

6.3 เข้าคูหากากบาทพรรคที่ต้องการเลือก

6.4 หย่อนบัตรเลือกตั้ง

7. นับคะแนน และประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

8. โรงเรียนออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน

9. ผู้ที่ลงสมัครตำแหน่งประธานนักเรียน และชนะการเลือกตั้ง จะถูกแต่งตั้งเป็นประธานนักเรียนทันที

หน้าที่ ความรับผิดชอบของประธานนักเรียน

สภานักเรียนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

นอกเหนือจาก ตำแหน่งประธานนักเรียนแล้ว พรรคสภานักเรียนก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นทีมที่เข้ามาช่วยให้งานหรือกิจกรรมของโรงเรียนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งสภานักเรียนของแต่ละโรงเรียนนั้นอาจมีตำแหน่ง และจำนวนคนที่แตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมและภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่แล้วจะมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้

  • ประธานนักเรียน
  • รองประธาน
  • เลขานุการ
  • ประธานฝ่ายการเงิน
  • กรรมการฝ่ายการเงิน
  • ประธานฝ่ายดูแลพฤติกรรม
  • กรรมการฝ่ายดูแลพฤติกรรม
  • ประธานฝ่ายวิชาการ
  • กรรมการฝ่ายวิชาการ

การเลือกตั้งประธานนักเรียน เป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะการมีส่วนร่วมในสังคม การทำงานเป็นทีม การนำเสนอความเห็น การตัดสินใจ และรู้จักที่จะเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังถือเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมสู่สังคมอนาคตอีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button