ข่าวข่าวการเมือง

กกต. ไม่ห้าม มีสื่อออนไลน์ส่วนตัว ลงสมัครชิง สว. ได้

ความคืบหน้าก่อนเปิดรับสมัคร สมาชิกวุฒิสภา 2567 พรุ่งนี้ (10 พ.ค.) วันแรกนั้น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหนังสือตอบข้อหารือเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้สมัคร สว. กรณีมีสื่อออนไลน์ส่วนตัว ว่าเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 (3) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 หรือไม่นั้น

กกต. ชี้แจงว่า ผู้สมัครมีบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลช่องยูทูบ เฟซบุ๊ก หรือแอปพลิเคชันต่างๆ และจัดทำเนื้อหาด้วยตนเองเพื่อ แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ข่าวสารการเมือง หรือเนื้อหาสร้างความบันเทิง ฯลฯ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชันนั้น ไม่ถือเป็นรายได้จากการเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน

Advertisements

ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 (3) ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.

**หมายความว่า บุคคลทั่วไปที่ทำช่องยูทูบ เฟซบุ๊ก หรือมีสื่อออนไลน์ส่วนตัว โดยไม่ได้รับเงินจากสื่อมวลชนโดยตรงสามารถลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ได้

ทั้งนี้ หนังสือตอบข้อหารือฉบับนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น ผู้สมัครทุกคนควรศึกษาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างละเอียดอีกครั้ง และหากมีข้อสงสัย ควรติดต่อสอบถามกับ กกต. โดยตรง

ในวันศุกร์ ประชาชนที่ต้องการลงสมัคร ให้ไปขอใบสมัคร สว. 2 พร้อมแบบข้อมูลแนะนำตัว หรือ ใบ สว. 3 และแบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในกลุ่มที่สมัครด้วยตนเอง จากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต ที่ตนอาศัยอยู่

เอกสารที่ใช้แสดงตนตอนขอใบสมัคร ให้มีอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

Advertisements
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือ
  • บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือ
  • บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย และมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร หรือ
  • หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอพพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติ สว. 2567

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดให้มี “สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 200 คน” ดำรงเป็นได้รคาวละ 5 ปี เป็นได้วาระเดียว สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเอง ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม จาก 20 กลุ่มอาชีพ ตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 200 คน ตำแหน่งคราวละ 5 ปี

20 อาชีพที่สามารถสมัครเป็นสว.ได้ดังนี้

  1. กลุ่มการบริหารราชการ แผ่นดินและความมั่นคง
  2. กลุ่มกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม
  3. กลุ่มการศึกษา
  4. กลุ่มการสาธารณสุข
  5. กลุ่มอาชีพทํานา ปลูกพืชล้มลุก
  6. กลุ่มอาชีพทําสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
  7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้าง ที่ไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน
  8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาฯ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน
  9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการ ขนาดกลางและขนาดย่อย ตามกฎหมาย
  10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น นอกจากกลุ่มที่ 9
  11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรือ อาชีพด้านการท่องเที่ยว
  12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม
  13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม
  14. กลุ่มสตรี
  15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น
  16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา
  17. กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์
  18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม
  19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  20. กลุ่มอื่น ๆ

อ้างอิงจาก : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา

อ่านข่าวที่เกียวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button