ข่าว

ศาลตัดสินจำคุก อดีตพระอาจารย์คม 468 ปี ยักยอกทรัพย์ 300 ล้าน โทษ 78 กระทง

เผยความคืบหน้าล่าสุด ศาลมีคำพิพากษา อดีตพระอาจารย์คม อภิวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี จังหวัดนครราชสีมา ว่าจำเลยทั้ง 9 คนมีความผิดจริง โดยศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานที่มั่นคง ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้นำทรัพย์สินของวัดไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด และขนย้ายทรัพย์สินออกไป สำหรับอดีตพระคม ศาลตัดสินจำคุก 78 กระทง รวมเป็นเวลา 468 ปี แต่ตามกฎหมายไทย จำเลยสามารถจำคุกได้สูงสุด 50 ปี

สรุปศาลฯอ่านคำพิพากษา อดีตพระอาจารย์คม

วันนี้ (20 มีนาคม 2567) เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคําพิพากษา ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อท 125/2566 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท 53/2567 ระหว่าง พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์ นาย ว. ที่ 1 กับพวก รวม 9 คน จําเลย

Advertisements

โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัด ป. เป็นเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงาน ของรัฐตามกฎหมาย จําเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 9 เป็นพระลูกวัด จําเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นฆราวาส

ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องจําเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เบียดบังเงินสดที่มีผู้บริจาค ให้แก่วัด ป. ผู้เสียหาย โดยนําเงินเก็บรักษาไว้ที่กุฎิจําเลยที่ 1 แล้วยินยอมให้จําเลยที่ 2 และที่ 3 นําเข้าฝากใน บัญชีเงินฝากธนาคารชื่อบัญชีจําเลยที่ 3 และบุคคลอื่นที่มีเงื่อนไขให้จําเลยที่ 3 เบิกถอนได้แต่เพียงผู้เดียว รวม 76 ครั้ง

ศาลตัดสินจำคุก อดีตพระอาจารย์คม 468 ปี ยักยอกทรัพย์
แฟ้มภาพ

นอกจากนี้ยังนําส่งมอบให้จําเลยที่ 3 เก็บไว้เป็นเงินสดในที่พักอาศัยของจําเลยที่ 3 ซึ่ง เจ้าพนักงานตํารวจตรวจยึดได้เป็นเงิน 51,918,170 บาท และระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จําเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์ของวัด ป. ผู้เสียหายไป

โดยจําเลยที่ 1 ตกลงกับจําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 แล้วก่อนจําเลยที่ 1 และที่ 2 เดินทาง เข้ากรุงเทพมหานครได้สั่งการให้จําเลยที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 ขนย้ายทรัพย์สินออกจากกุฎิของจําเลยที่ 1 และ ที่ 2 ไปซุกซ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด ป. จําเลยที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 จึงขนย้ายทรัพย์สินไปซุกซ่อนไว้เพื่อ รอฟังคําสั่งจากจําเลยที่ 1 และที่ 2 แจ้งว่าจะให้นําทรัพย์สินดังกล่าวออกจากวัด ป. เมื่อใด

ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จําเลยที่ 2 โทรศัพท์แจ้งให้จําเลยที่ 9 ไปแจ้งแก่จําเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ช่วยกันขนย้าย ทรัพย์สินบางส่วนใส่รถตู้ออกไปซุกซ่อนไว้ที่อื่นนอกวัด โดยมีบางส่วนยังคงซุกซ่อนอยู่ในวัดและอยู่ในกุฎิของ

Advertisements

จําเลยที่ 1 ซึ่งขนย้ายไปยังไม่หมด การกระทําของจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 เป็นการร่วมกันกับจําเลย ที่ 1 เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป และเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จําเลยที่ 1 ในการกระทําความผิด รวมเงินสดและทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายเป็นจํานวน 1,454 รายการ รวมราคาเป็นเงินประมาณ 299,505,992.42 บาท

ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 91, 147, 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

ประกาศศาลอาญา พระอาจารย์คม

ศาลพิเคราะห์แล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์ชี้ช่องมีน้ําหนักมั่นคงให้ฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุ ตามฟ้องจําเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัด ป. เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา และเป็น เจ้าพนักงานของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 จําเลยที่ 2 เป็นประธานสงฆ์ สั่งการให้จําเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ วัด ป. และบัญชีเงินฝากธนาคารของจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบัญชีสําหรับฝากเงินที่วัดได้รับบริจาค นํามา เก็บรวบรวมไว้

โดยมิได้จัดทําบัญชีแจกแจงตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ แล้วนําเงินดังกล่าวไปส่งมอบให้ จําเลยที่ 3 นําเข้าฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารชื่อจําเลยที่ 3 และบัญชีเงินฝากธนาคารบุคคลอื่นที่มีการขอให้ เปิดบัญชีให้ไว้โดยให้จําเลยที่ 3 มีอํานาจเบิกถอนเงินเพียงผู้เดียว

โดยไม่ปรากฏว่าวัด ป. มีสิทธิเรียกร้อง ในเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าว รวม 76 ครั้ง และบางส่วนนําเก็บเป็นเงินสดไว้ในที่พักอาศัยจําเลย ที่ 3 แม้จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยกข้อต่อสู้ว่าเป็นเงินส่วนตัวของจําเลยที่ 2 แต่ข้ออ้างดังกล่าวปราศจากพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน ทั้งที่อยู่ในหน้าที่รู้เห็นของจําเลยที่ 1 และที่ 2 แต่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิอาจ แจกแจงแสดงรายการบัญชีของเงินดังกล่าวได้ หากแม้มีเงินที่จําเลยที่ 2 ได้รับบริจาคส่วนตัว เงินดังกล่าว ก็ย่อมปะปนระคนกันกับเงินอันเป็นทรัพย์สินของวัดมิอาจแยกแยะได้

การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็น การจัดการทรัพย์สินของวัดโดยมิชอบ และมีลักษณะเป็นการเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น โดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย โดยมีจําเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนการกระทํา ความผิด

ส่วนเงินสดและทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานตํารวจพบและยึดไว้เป็นของกลางภายในวัด พยานหลักฐาน ที่โจทก์ชี้ช่องมีน้ําหนักมั่นคงฟังยุติได้ว่า วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 อันเป็นวันก่อนที่จําเลยที่ 1 ลาสิกขา จําเลยที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินของกลางดังกล่าวที่เก็บอยู่ในวัด ป. ถือว่าอยู่ในความครอบครอง ของจําเลยที่ 1 เจ้าอาวาส ซึ่งจําเลยที่ 1 มิได้จัดทํารายการบัญชีแจกแจงทรัพย์สินไว้เช่นกัน นําออกไปซุกซ่อน ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด

ตามที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งการ แล้วจําเลยที่ 4 และที่ 8 ช่วยกันขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวเปลี่ยนที่ซุกซ่อนเร้นครอบครองแทนจําเลยที่ 1 และที่ 2 หลายครั้งเพื่อหลบเลี่ยงให้พ้นไป มิให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของวัดหรือเจ้าพนักงานตํารวจตรวจค้นพบ ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จําเลยที่ 2 สนทนาทางโทรศัพท์ใช้ให้จําเลยที่ 9 แจ้งแก่จําเลยที่ 4 และที่ 8 ขนย้ายทรัพย์ดังกล่าวออกไปนอกวัด

ประกาศศาลอาญา พระอาจารย์คม อดีตพระ

จําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 จึงร่วมกันขนย้ายทรัพย์ใส่รถตู้ให้จําเลยที่ 5 ขับออกจากวัด ไปจอดไว้ ที่บ้านพักอาศัยจําเลยที่ 5 อันเป็นการกระทํามีวัตถุประสงค์ต่อเนื่องกับการขนย้ายทรัพย์ตั้งแต่เริ่มต้นเป็น กรรมเดียว แม้จําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ไม่ทราบถึงพฤติกรรมทางเพศของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ถูกกล่าวอ้างใน รายงานและสํานวนการสอบสวน

ประกอบกับด้วยสถานภาพของจําเลยที่ 2 ที่แสดงออกต่อสาธารณะ ซึ่งแม้ วิญญูชนทั่วไปหากแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดและอยู่เป็นช่วงระยะเวลาที่เพียงพอให้ได้มีโอกาสรับรู้หรือสังเกตเห็น การกระทําอันเป็นเครื่องชี้เจตนาในใจ ก็ย่อมไม่อาจทราบถึงพฤติการณ์หรือเจตนาในใจที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดไม่แสดงออกได้

แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินภายในวัดได้มาจากการบริจาคของประชาชน ไม่มีการจัดทํารายการบัญชีทรัพย์สินแจกแจงให้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นทรัพย์สินของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดอันจะพอให้เข้าใจได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวล้วนมิใช่เป็นทรัพย์สินของ วัด ป. อย่างแน่แท้

จึงไม่พอให้ฟังได้ว่าจําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ไม่รู้หรือสําคัญผิดในข้อเท็จจริงดังกล่าว ขณะจําเลยที่ 4 และที่ 8 ร่วมขนย้าย ก็ทราบได้ว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งการให้เคลื่อนย้ายทรัพย์สิน

จากที่เก็บเดิมอันมีลักษณะเพื่อปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์ ทั้งต่อมาจําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ต่างก็ทราบว่า จําเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตํารวจดําเนินคดี

มีการแต่งตั้งรักษาการแทนเจ้า อาวาส มีคําสั่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของวัด แต่จําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ก็เลือกกระทําการช่วยเหลือจําเลยที่ 1 และที่ 2 ซุกซ่อนยักย้ายทรัพย์ดังกล่าว แม้อ้างว่าด้วยเหตุที่เคารพศรัทธาจําเลยที่ 2 ภายหลังบอกที่ซุกซ่อน ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานตํารวจ

และแจ้งให้จําเลยที่ 5 ขับรถนําทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนโดยไม่ปรากฏทรัพย์ ขาดหายไปก็ตาม พยานหลักฐานที่จําเลยยกขึ้นอ้างก็ไม่มีน้ําหนักหักล้างแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาเป็นอย่างอื่น การกระทําของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 8 จึงเป็นการร่วมกันเบียดบังทรัพย์ของวัด ป. โดยทุจริต คดีฟังยุติ ได้ว่าจําเลยที่ 1 จัดการทรัพย์สินของวัดโดยมิชอบ

เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย ทุจริต เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของ ผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย

และฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ ให้กระทําความผิดและเป็นผู้ร่วมกระทําความผิด จําเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด จําเลยที่ 4

และที่ 8 ร่วมกันกระทําความผิดในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทํา แต่เมื่อจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่ได้เป็น เจ้าพนักงาน ขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวตามที่กฎหมายกําหนดไว้โดยเฉพาะ จึงมีความผิดเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น โดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น

การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือ หน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ

เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ส่วนจําเลยที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 9 เข้าร่วมกระทําการดังกล่าวภายหลังจากจําเลยที่ 1 ลาสิกขา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 สิ้นสถานะเจ้าพนักงานแล้ว

จึงมีความผิดฐานร่วมกัน ยักยอกทรัพย์ ซึ่งศาลมีอํานาจวินิจฉัยว่าจําเลยกระทําความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง

ส่วนการกระทําของจําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ใช้นั้นย่อมเกลื่อนกลืนกับการกระทํา ของตนที่ได้เป็นตัวการร่วมกันกระทําความผิดข้างต้นแล้ว และเมื่อการกระทําของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 8

เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะของบททั่วไปตามมาตรา 157 แล้ว ย่อมไม่จําต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก

พิพากษาว่า จําเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 83

จําเลยที่ 2 จําเลยที่ 3 จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 8 มีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 147 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จําเลยที่ 5 จําเลยที่ 6 จําเลยที่ 7 และ จําเลยที่ 9 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83

ประกาศศาลอาญา พระอาจารย์คม ยักยอกทรัพย์

การกระทําของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่น เอาทรัพย์นั้นไปเสีย

และเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่หรือ ใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต

หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่หรือ ใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

เป็นการกระทําอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ จําเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือ เป็นของผู้อื่นโดยทุจริต

หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย ลงโทษจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือ เป็นของผู้อื่นโดยทุจริต

หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จําคุกจําเลยที่ 1 กระทงละ 6 ปี รวม 78 กระทง คงจําคุก 468 ปี จําคุกจําเลยที่ 2 กระทงละ 4 ปี รวม 78 กระทง คงจําคุก 312 ปี

จําคุกจําเลยที่ 3 กระทงละ 4 ปี รวม 77 กระทง คงจําคุก 308 ปี จําคุกจําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 8 คนละ 3 ปี 4 เดือน จําคุกจําเลยที่ 5 จําเลย ที่ 6 จําเลยที่ 7 และจําเลยที่ 9 คนละ 3 ปี

การเสนอแนวทางชี้ช่องพยานหลักฐานและนําสืบของจําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้คนละหนึ่งในสาม คงจําคุกจําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 8 คนละ 2 ปี 2 เดือน 20 วัน คงจําคุกจําเลยที่ 5 จําเลยที่ 6 จําเลยที่ 7

และจําเลยที่ 9 คนละ 2 ปี สําหรับจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 เมื่อรวมโทษ ทุกกระทงแล้วให้จําคุกคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ข้อหาอื่นสําหรับจําเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ให้ยกฟ้อง

ประกาศศาลอาญา พระอาจารย์คม โทษรวม 78 กระทง

ประวัติ “พระอาจารย์คม” สู่คดียักยอกทรัพย์ 300 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางของ พระอาจารย์คม หรือ พระวชิรญาณโกศล วิ. อดีตพระหนุ่มสายวิปัสสนากรรมฐาน ศิษย์ผู้ศรัทธาในแนวทางการปฏิบัติธรรมของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เดิมทีท่านบวชและศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย

ต่อมาท่านได้เดินทางมาหาที่สงบเพื่อปฏิบัติธรรมที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และตั้งที่พักสงฆ์ธรรมคีรีขึ้น ด้วยความศรัทธาจากลูกศิษย์และผู้เลื่อมใส ทำให้วัดป่าธรรมคีรีได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียง จนทำให้พระอาจารย์คมมีลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก รวมไปถึงนักธุรกิจ ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง และดารานักแสดงที่มีชื่อเสียง

กระทั่ง พระอาจารย์คม ได้ถูกตำรวจสอบสวนกลางจับ พร้อมพวก 9 คน ฐานยักยอกทรัพย์ วัดป่าธรรมคีรี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มูลค่าความเสียหายมากกว่า 200 ล้านบาท ส่งผลให้ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษา ตัดสินจำคุก เวลา 468 ปี แต่ตามกฎหมายไทย จำเลยสามารถจำคุกได้สูงสุด 50 ปี รวมทั้งสิ้น 78 กระทง.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : วิกิพีเดีย

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button