ข่าว

ประกาศราชกิจจาฯ สั่ง กทม. ต้องจ่ายหนี้ บีทีเอส 2.3 หมื่นล้าน

กรุงเทพมหานคร อ่วมหนัก หลังมีประกาศราชกิจจานุเบกษา จ่ายหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นจำนวนเงิน 2.3 หมื่นล้าน บาท มีผลตั้งแต่บัดนี้

จบประเด็นค้างชำระ หลังจากที่ เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 23,488,692,200 บาท เพื่อใช้จ่ายหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานและให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ให้มีผลทันที วันพุธนี้ 13 มีนาคม 2567 โดยมีรายละเอียดระบุไว้ว่า

Advertisements

สำหรับรายละเอียด “โดยที่กรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจ่ายรายจ่ายพิเศษจากเงินสะสมจ่ายขาดของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 97 และมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 12 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินสะสม พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินสะสม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร จึงตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 บัญญัติกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พ.ศ. ๒๕๖๗

ข้อ 2 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ 3 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้ตั้งเป็นรายจ่ายพิเศษจํานวน 23,488,692,200 บาท ตามรายละเอียดเอกสารงบประมาณ โดยจําแนก ดังนี้

งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ

Advertisements
  • สำนักการจราจรและขนส่ง รวม 23,488,692,200 บาท
  • งบประมาณภารกิจประจำพื้นฐาน 23,488,692,200 บาท
  • ผลผลิตระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ 23,488,692,200 บาท

ข้อ 4 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครควบคุมการใช้จ่ายเงินและการบริหารงบประมาณตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

ข้อ 5 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567″

กทม จ่ายหนี้ บีทีเอส 2567

อย่างไรก็ตาม ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา สภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) ได้ลงมติ 44 เสียง เพื่ออนุมัติจ่ายเงินภายใน 2 เดือน ซึ่ง กทม.จะนำเงินสะสมจ่ายขาดที่มีอยู่ 4-5 หมื่นล้านบาท มาชำระ 1.หนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 2,199 ล้านบาท (ดอกเบี้ยยังไม่เป็นปัจจุบัน) และ 2.หนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 8,786 ล้านบาท (ดอกเบี้ยยังไม่เป็นปัจจุบัน)

สรุปก็คือ กทม. ได้รับโอนระบบ E&M มาจากบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด มูลค่า 23,000 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) สาเหตุที่ กทม. ต้องจ่ายหนี้ เพราะมีการทำเอ็มโอยูให้ทางกรุงเทพธนาคมเป็นผู้ติดตั้งระบบ E&M แทน กทม.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button