กฎหมาย “พักโทษ” คืออะไร หลัง “ทักษิณ” เข้าเกณฑ์ ไม่ต้องติดคุก
อธิบายข้อกฎหมาย “พักโทษ” คืออะไร หลักเกณฑ์สำหรับนักโทษสูงอายุมีสิทธิออกจากเรือยนจำ หลัง ทวี ยอมรับ “ทักษิณ” เข้าเกณฑ์พักโทษ
วันนี้ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ความเคลื่อนไหวใหญ่ทางการเมืองไทยหนีไม่พ้น กรณี พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ในรายชื่อ 930 รายชื่อ ผู้ได้รับการพักโทษรอบนี้ ในฐานะผู้ต้องขังที่มีอายุ 70 ปีบริบูรณ์
วันนี้ทีมข่าว Thaiger ขอพามาอธิบายให้เข้าใจหลักกฎหมายที่แบบง่ายๆ ว่าทำไมทักษิณถึงได้รับสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 52 การพักการลงโทษ (Parole) หมายถึง การปล่อยตัวนักโทษออกมาอยู่นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษภายใต้เงื่อนไขประพฤติ
หลักเกณฑ์พิจารณาบุคคลที่ได้รับการพักโทษก็คือ 1.รับโทษมาอย่างน้อย 6 เดือน 2.รับโทษ 1 ใน 3 ถ้าอันไหนมากกว่ากันก็ใช้อันนั้นเป็นเกณฑ์ แต่ต้องมีโทษไม่เกิน 10 ปี
“กรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา และกำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้กำหนดเท่ากับกำหนดโทษที่ยังเหลืออยู่
ทั้งนี้ ในการคำนวณระยะเวลาการพักการลงโทษ ถ้ามีวันลดวันต้องโทษจำคุกตาม(6) ให้นำมารวมกับระยะเวลาในการพักการลงโทษด้วย”
กรณีของทักษิณ ย้อนกลับไป 22 ส.ค. 2566 หลังจากที่เดินทางกลับประเทศไทย ศาลฎีกามีคำพิพากษา 3 คดีที่ค้างอยู่ ให้จำคุกเป็นระยะเวลา 8 ปี หลังจากอยู่ในเรือนจำไม่นาน ก็ถูกย้ายไปรักษาที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องด้วยอาการป่วยหลายโรค จนถึงวันนี้ (13 ก.พ.) เป็นเวลา 175 วันแล้ว เท่ากับว่า เหลือเวลาไม่ถึงสัปดาห์ ก็จะรับโทษครบ 180 วัน
ถือเป็น 2 ใน 3 เข้าเกณฑ์พักโทษ ดังนั้นหากทักษิณหายป่วยทันหลังจากได้รับการพักโทษ ก็อาจจะออกมาใช้ชีวิตปกติในโลกภายนอกได้
อย่างไรก็ดี กระบวนการประกาศวันพักโทษยังไม่แน่นอน เนื่องจากตอนนี้น่าจกรมราชทัณฑ์อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้ต้องขังทั่วประเทศที่มีสิทธิหรือมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ได้รับการพักโทษ ทั้งแบบปกติ และแบบกรณีมีเหตุพิเศษฯ จากนั้นจึงจะรายงานมาที่นายทวีอีกที
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘ทักษิณ’ มีชื่อเข้าเกณฑ์พักโทษ จ่อปล่อยตัวหลังรับโทษครบ 6 เดือ
- ‘เทพไท’ ฟัน ‘ทักษิณ’ ไม่โดนอายัดตัว หลังโดนฟ้องคดี ม.112 เชื่อว่ารอ
- ‘สันธนะ’ ยื่นจดหมายถึง ‘อุ๊งอิ๊ง’ ขอพบ ‘ทักษิณ’ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า 22 ก.พ.