ไลฟ์สไตล์

รู้จัก “อากรแสตมป์” คืออะไร ต่างจากแสตมป์ไปรษณีอย่างไร

หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า อากรแสตมป์ ผ่านหูกันมาบ้างแต่สำหรับบางคนก็อาจจะไม่ได้รู้จักว่าแท้จริงแล้ว อากรแสตมป์คืออะไร การใช้งานเป็นยังไง และอากรแสตมป์ใช่แบบเดียวกับแสตมป์ติดจดหมายหรือเปล่า สามารถหาซื้อได้จากที่ไหน ราคาเท่าไหร่ วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัยนี้กันค่ะ

อากรแสตมป์ คืออะไร

อากรแสตมป์ (Stamp Duty) หรือ ตราสาร ถือเป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งกรมสรรพากรจะทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บ รูปแบบของแสตมป์ที่ใช้สำหรับประทับไว้บริเวณส่วนด้านบนของเอกสารราชการต่าง ๆ และเอกสารใดที่ติดอากรแสตมป์สามารถใช้ยื่นเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้

Advertisements

การเสียภาษีอากรแสตมป์ เป็นการซื้ออากรแสตมป์จากสรรพากรมาแปะไว้ในสัญญา ตราสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายได้กำหนด หากไม่ทำการติดอากรแสตมป์อาจมีความผิดทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น สัญญาเช่นที่ดิน ผู้ให้เช่า ต้องเป็นผู้เสียอากร , สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ ต้องเป็นผู็เสียอากร

อากรแสตมป์ คืออะไร
ภาพจากเฟซบุ๊ค : PRA Academy

อากรแสตมป์ กับ แสตมป์ ต่างกันอย่างไร สามารถใช้แทนกันได้ไหม

ความแตกต่างของ อากรแสตมป์ กับ แสตมป์ไปรษณียากร มีข้อแตกต่างมากมาย โดยอากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับประทับตราเอกสารต่าง ๆ ทั้ง 28 ชนิด ถ้าไม่ติดอากรแสตมป์อาจมีความผิดทางกฎหมายทั้งแพ่งและอาญา

ส่วนแสตมป์ที่ใช้ติดจดหมาย หรือตราไปรษณีย์ เหมือนใบเสร็จที่ชำระค่าฝากส่งทางไปรษณีย์ และยังเป็นการช่วยระบุถึงจดหมายฉบับนั้น ๆ ว่าจะฝากส่งไปที่ไหน ใช้ติดจดหมายทั่วไปที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ แล้วก็ไม่มีผลทางกฏหมายเหมือนอากรแสตมป์

ถึงแม้ทั้งสองอย่างจะเป็นแสตมป์เหมือนกันแต่การใช้งานนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นอากรแสตมป์และแสตมป์ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เพราะอากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับประทับตราเอกสาร แต่แสตมป์ใช้ติดจดหมายทั่วไป

28 เอกสารที่ต้องติดอากรแสตมป์ มีอะไรบ้าง

สำหรับเอกสารที่ต้องมีการติดอากรแสตมป์ 28 ชนิด มีดังนี้

Advertisements
  1. เอกสารเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
  2. เอกสารโอนใบหุ้น หุ้นกู้ พันะบัตร และใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์กรใด ๆ เป็นผู้ออก
  3. เอกสารเช่าซื้อทรัพย์สิน
  4. เอกสารการจ้างทำของ
  5. เอกสารกู้ยืม เอกสารตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  6. เอกสารกรมธรรม์ประกันภัย
  7. เอกสารใบมอบอำนาจ
  8. เอกสารใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
  9. ตั๋วแลกเงิน หรือตราสาร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสาร
  10. เอกสารบิลออฟเลดิง
  11. เอกสารใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
  12. เช็ค หรือหนังสือใด ๆ ที่ใช้แทนเช็ค
  13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
  14. เลคเตอร์ออฟเครดิต
  15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง
  16. เอกสารใบรับรอง
  17. เอกสารจำนำ
  18. เอกสารการค้ำประกัน
  19. ใบรับรองของคลังสินค้า
  20. เอกสารคำสั่งให้ส่งมอบของ
  21. เอกสารตัวแทน
  22. เอกสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
  23. เอกสารคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
  24. เอกสารหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด
  25. เอกสารข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
  26. เอกสารข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
  27. เอกสารหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
  28. เอกสารใบรับ

จำนวนอากรแสตมป์มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่อัตราของสัญญาหรือตราสารที่กำหนด ซึ่งแต่ละอันจะใช้ไม่เท่ากัน เช่น การเช่าที่ดินค่าอากรแสตมป์ เริ่มที่ 1 บาท หรือตั๋วแลกเงินค่าอากรแสตมป์ ฉบับละ 3 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้อากรแสตมป์สามารถนำไปจ่ายที่กรมสรรพากรจะเรียกว่าเป็นการชำระอากรเป็นตัวเงิน หรือชำระผ่านระบบ e-stamp Duty หรืออากรแสตมป์แบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ทำได้

วิธีการเสียอากรแสตมป์

  1. ปิดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม
  2. ใช้แสตมป์ดุนบนกระดาษ (แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)
  3. ชำระเป็นเงินสด (สำหรับตราสาร 12 ประเภท ตามบัญชีอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร)

สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาใกล้บ้าน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์

  • อากรแสตมป์เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดเก็บภาษี ไม่ใช่กฏหมาย
  • สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร
  • สัญญาปากเปล่าไม่มีหนังสือ ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ (อากรแสตมป์จัดเก็บจากการทำสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น)
  • การไม่เสียอากรไม่ได้ทำให้ตราสารนั้นไม่มีผลทางกฏหมาย แต่มีผลทำให้ตราสารหรือตราสารนั้นใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
  • อากรแสตมป์ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากร ไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กรมสรรพากร

Sarocha Somboo

นิวค่ะ นักเขียนที่ Thaiger มาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เอกภาพยนตร์และการถ่ายภาพ มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อบันเทิงเกาหลี ด้านแฟชั่นความสวยความงาม และทุกเรื่องราวไลฟ์สไตล์ เขียนบทความออกมาได้อย่างบันเทิง อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button