ทำงาน “วันหยุดปีใหม่” ได้ค่าแรงเพิ่มไหม เช็กกฎหมายแรงงาน กันถูกเอาเปรียบ
เทศกาลปีใหม่ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับหลายคนที่ยังต้องทำงานในช่วงวันหยุดปีใหม่ ควรจะได้ค่าแรงเพิ่มไหม เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
อ้างอิงตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ระบุว่าในช่วงวันหยุดเทศกาลได้กำหนดให้นายจ้าง ต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันวันหยุดเทศกาลหรือประจำปี และนายจ้างไม่มีสิทธิ์ใช้เป็นข้ออ้างในการหักเงินได้ แต่ทางกลับกันหากนายจ้างขอให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ต้องจ่ายค่าจ้างตามกฎหมายกำหนดไว้
กฎหมายแรงงาน ทำงานล่วงเวลา ที่ลูกจ้างควรรู้
ทั้งนี้ในทางด้านสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ระบุข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานในวันหยุด และค่าแรงวันหยุด ดังนี้
การจ่ายค่าจ้างทำงานในวันหยุด
หากนายจ้างขอให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างยินยอมทำด้วย จะต้องมีการจ่ายค่าจ้างในวันหยุดให้กับลูกจ้างประจำ ซึ่งครอบคลุมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ทั้งนี้สำหรับลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์
– ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย
– ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
– ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
อัตราการจ่ายค่าจ้างทำงานในวันหยุด
ให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด และอยู่ในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ตามรายละเอียดดังนี้
– สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างจ่ายเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง
– สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้
– ถ้าทำงานในวันหยุด และเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งจะอยู่ในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
ค่าชดเชยการทำงานในวันหยุด
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย300 วัน
การฝ่าฝืนกฎหมายหากนายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง
- อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้ง
- ผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมาย ต่อไป
นอกจากนี้หากท่านไหนต้องทำงานในวันหยุดปีใหม่ก็ขอให้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและกระทรวงคุ้มครองแรงงานเพื่อไม่ให้โดนนายจ้างเอาเปรียบได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องที่นี่