นาซ่า เผยภาพหาดูยาก ต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพ ต้อนรับเทศกาลปลายปี
องค์กรนาซา ได้ออกมาเปิดภาพ NGC 2264 หรือเรียกอีกชื่อว่า คลัสเตอร์ต้นคริสต์มาส ที่ปรากฎในรูปร่างต้นไม้ในจักรวาลสีเขียว พร้อมกับแสงดาวฤกษ์ เพื่อรวมฉลองเทศกาลปลายปีและปีใหม่ที่จะถึงนี้
NGC 2264 เป็นคลัสเตอร์ดาวอายุน้อย มีอายุระหว่าง 1 – 5 ล้านปีในทางช้างเผือก กระจุกดาว NGC 2264 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,500 ปีแสง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “กระจุกดาวต้นคริสต์มาส” เป็นกลุ่มดาวฤกษ์อายุน้อยที่ล้อมรอบด้วยเมฆก๊าซเนบิวลา ชวนให้นึกถึงต้นไม้สีเขียวที่ตกแต่งด้วยแสงระยิบระยับ
ซึ่งภาพส่วนประกอบใหม่นี้ เพิ่มความคล้ายคลึงกับต้นคริสต์มาส ด้วยการเลือกสีและการหมุนแสงสีน้ำเงินและสีขาว เป็นดาวฤกษ์อายุน้อยที่ปล่อยรังสีเอกซ์ ที่ตรวจพบโดยภาพจากดาวเทียม ( NASA’s Chandra X-ray ) ของนาซา
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Narit ได้เผยรายละเอียดข้อมูลว่า NGC 2264 เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของเนบิวลาแบบเรืองแสง (Emission Nebula) ขนาดใหญ่ และกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งเป็นกระจุกดาวอายุน้อยและมีความ สว่างมาก อยู่ในกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) ห่างจากโลกประมาณ 2,600 ปีแสง ลักษณะการเรียงตัวของกระจุกดาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายกับต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า Christmas Tree Cluster
ทั้งนี้ จุดเด่นของ NGC 2264 คือ บริเวณกลางภาพมีดาวฤกษ์เกาะกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ เรียกว่า “กระจุกดาวเปิด” มีดาวสว่างสีฟ้าและสีขาวเรียงตัวกันเป็นรูปร่างคล้ายต้นคริสต์มาส จึงมีชื่อเรียกว่า “กระจุกดาวต้นคริสต์มาส (Christmas Tree Cluster)” ด้านบนมีกลุ่มแก๊สรูปร่างคล้ายกรวย มีชื่อว่า “เนบิวลากรวย (Cone Nebula)” มีดาวสว่างเด่นบนเนบิวลากรวยเป็นยอดของต้นคริสต์มาส
ซึ่งเดิมทีกระจุกดาว NGC 2264 ไม่ได้มีลักษณะตั้งตรงแบบนี้ แต่ต้องหมุนภาพตามเข็มนาฬิกา 160 องศาเพื่อให้ด้านบนของต้นไม้ตั้งตรง นอกจากนี้ ส่วนที่เป็นเหมือนไฟประดับก็ต้องใช้กล้องของจันทราที่สามารถถ่ายภาพที่ความยาวคลื่นแตกต่างกันได้ จนทำให้เห็นดาวเป็นแสงสีน้ำเงินและสีขาวเหมือนในภาพ ซึ่งเกิดจากรังสีเอ็กซ์ของดาวฤกษ์อายุน้อย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องที่นี่
- นาซายังงง แสงสีเขียวกลางทะเลไทยคืออะไร ก่อนรู้เฉลยเป็นเรือไดหมึก
- นาซาเผยภาพ ‘รังสีดวงอาทิตย์’ จากยานคิวริออซิตี ชัดสุดครั้งแรกบนดาวอังคาร
- นาซา เผย ภาพกาแล็คซี่ห่างไกล-ลึกที่สุด จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
อ้างอิง : NASA