วันผู้สูงอายุสากล 1 ตุลาคม 2566 ส่งเสริมบทบาท ผู้สูงอายุในสังคม
วันสำคัญน่ารู้ 1 ตุลาคม 2566 วันผู้สูงอายุสากล ตระหนักรู้ตระหนักรู้ ให้โอกาส เสริมบทบาทผู้สูงอายุ บุคลากรสำคัญผู้สร้างคุณงามความดี และคุณประโยชน์ไว้ให้คนรุ่นหลัง
รู้หรือไม่ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันผู้สูงอายุสากล” มีขึ้นเพื่อสร้างความตะหนักรู้แก่สังคมให้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุทั้งหลาย เพราะพวกเขามีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนสังคม คุณตาคุณยายเหล่านี้ไม่ใช่ภาระอย่างที่คนรุ่นใหม่คิด และมักมองข้ามไม่เหลียวแล แต่ที่ผ่านมาคุณปู่คุณย่าได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมของเราไว้มากมาย
อีกทั้ง ยังให้ความหมายคำว่า ผู้สูงอายุ ว่าคือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี 2016 คือ Take a Stand Against Ageism “ให้โอกาส และบทบาทที่สำคัญแก่ผู้สูงอายุ”
ประวัติ วันผู้สูงอายุสากล
วันผู้สูงอายุสากล หรือ International Day of Older Persons ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค. 2534 โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ผู้เคยเป็นบุคลากรสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย วันผู้สูงอายุ เริ่มได้รับความสำคัญในสมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการกำหนดนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยได้มอบหมายให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นในปี 2496 เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีความทุกข์ยาก ประสบปัญหา และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ในสมัยรัฐบาลขออง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการสานต่อความสำคัญการสงเคราะห์ผู้สูงงอายุ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งงชาติ และเลือก ดอกลำดวน ให้เป็นสัญลักษณ์ของวันผู้สูงอายุ
เพราะดอกลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ลำต้นมีอายุยืน ใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดี และดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบไม่ร่วงโรยง่าย เปรียบได้กับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานสืบไป
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) นับตั้งแต่ปี 2547 และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี 2567 ซึ่งในปัจจุบันถืออว่ากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
จากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่าประเทศไทยหลังปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยแรงงาน และในปี 2560 ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติที่ประชากรเด็กมีจำนวนน้อยกว่าประชากรผู้สูงอายุ
จากข้อมูลประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี 2557 มีผู้สูงอายุมีจำนวน 10,014,705 คน ถือเป็นร้อยละ 14.9 มีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงาน ร้อยละ 38.4 และใน ปี 2558 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยผู้สูงอายุ ร้อยละ 37.3 ยังคงทำงาน และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนสถานภาพบทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุมากขุึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งการขยายเกณฑ์กำหนดเกษียณอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปี เพื่อให้ผู้สูงอายุยังสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ และได้ใช้ประสบการณ์และศักยภาพอย่างเต็มที่
- ประวัติวันครู 2566 ที่มาของวันครูแห่งชาติ แม่พิมพ์สำคัญของเด็กไทย
- ชวนรู้ ประวัติวันวาเลนไทน์ จุดเริ่มต้นวันแห่งความรัก ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง